LASTEST NEWS

29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 เม.ย. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 เม.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุบลราชธานี เขต 2 29 เม.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยภูมิ เขต 2 29 เม.ย. 2567ดาวน์โหลด...คู่มือการประเมิน ITA Online สถานศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบ ภาค ก ตำแหน่ง ผอ. - รองผอ.สถานศึกษา ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 เม.ย. 2567คู่มือ การดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดีผดุงวิทยา” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

ผู้วิจัย นายมังกร น้อยเมล์
ปี 2566

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว "สวัสดิ์ผดุงวิทยา” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการ บริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 2) สร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว"สวัสดิ์ผดุงวิทยา" อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว"สวัสดิ์ ผดุงวิทยา” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็น เลิศของโรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา" อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ผลการวิจัย พบว่า

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ สู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว"สวัสดิ์ผดุงวิทยา” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา จากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้า วิชาการ และครูปฏิบัติงานวิชาการ รวม จำนวน 40 คน โดยได้องค์ประกอบหลักมี 4 ด้านดังนี้ 1) ด้าน ภาวะผู้นำทางวิชาการ ประกอบด้วยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการการจัดองค์กรเพื่อการเรียนการสอน การ วางแผนองค์กร กำหนดทิศทางการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาระบบงาน การเป็นผู้นำสถานศึกษา 2) ด้านภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการในสถานศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ การวัดผลประเมินผลและดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การวิจัยเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษา การนิเทศการศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และการ ประสานความร่วมมือในการพัฒนางานวิชาการ 3) ด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา

ประกอบด้วย กระบวนการวางแผนงานวิชาการ กระบวนการนำแผนงานวิชาการไปสู่การปฏิบัติ

การตรวจสอบและประเมินผลงานวิชาการ การนำเสนอผลการประเมินเพื่อปรับปรุงงานวิชาการ

4) ด้านการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม ประกอบด้วย การเตรียมการและการวางแผน ร่วม การจัดองค์การแห่งการเรียนรู้ การนำและการปฏิบัติ การควบคุมและการสะท้อนผล

ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของ โรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดยการตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ จาก ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าวิชาการ ครูปฏิบัติงานวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ วิชาการรวม จำนวน 40 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยรูปแบบ การบริหารงานวิชาการรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศ พบว่า องค์ประกอบหลักทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ 2) ด้านภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการใน สถานศึกษา 3) ด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และ 4) ด้านการบริหารเพื่อ การเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม มีความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารวิชาการ พบว่า

โดยภาพรวม (µ = 4.65) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีพิจารณารายองค์ประกอบหลัก พบว่า มีค่าเฉลี่ย (µ = 4.69, 4.67, 4.65 และ 4.59 ตามลำดับ) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และ เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยภาพรวม (µ = 4.67) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีพิจารณารายองค์ประกอบหลัก พบว่า มีค่าเฉลี่ย (µ = 4.72, 4.68, 4.68 และ 4.58 ตามลำดับ) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

คู่มือการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ตามความความคิดเห็นของ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าวิชาการ และศึกษานิเทศก์ รวม 9 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) พบว่า โดยภาพรวม (µ = 4.63) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา” อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ส่งผลให้ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ มีพฤติกรรม และแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับ บทบาทผู้นำทางวิชาการ และบริบทของสถานศึกษา บุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการและขั้นตอนการทำงาน สามารถปฏิบัติ กิจกรรมตามขั้นตอนได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งสถานศึกษามีแผนงานวิชาการที่เกิดจากการมีส่วนร่วม การแสดงความคิดเห็นจากทุกกลุ่มสาระการเรียน มีกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ มีผลการ ประเมินที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานที่แท้จริง ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อการวางแผนงานวิชาการ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา" อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เพื่อยืนยันรูปแบบการบริหารงานวิชาการ

4 องค์ประกอบที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้ (µ = 4.67 และ 4.52 ตามลำดับ) มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด

ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษากับค่าเป้าหมายของการ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มสาระ การเรียนรู้ที่สูงกว่าตามค่าเป้าหมาย จํานวน 7 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และกลุ่มวิชาค้นคว้าอิสระ (S) ทั้งนี้ โดยภาพรวมถือว่ามีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

สรุปได้ว่า รูปแบบการบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสีคิ้ว “สวัสดิ์ผดุงวิทยา" อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านภาวะผู้นำ ทางวิชาการ 2) ด้านภารกิจและขอบข่ายงานวิชาการในสถานศึกษา 3) ด้านกระบวนการบริหารงาน วิชาการในสถานศึกษา และ 4) ด้านการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม มีความถูกต้อง เหมาะสมและเป็นไปได้ สามารถนําไปใช้พัฒนาการบริหารงานวิชาการให้เกิดประสิทธิผลต่อไป
firry01 28 ก.พ. 2567 เวลา 16:03 น. 0 77
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^