LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วม

usericon

ชื่อเรื่อง    : การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะ
         การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ
         อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ผู้วิจัย     : วีระเชษฐ์ วรรณรส
ปีการศึกษา    : 2565

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามการวิจัย ฉบับที่ 1 แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ฉบับที่ 2 แบบวิเคราะห์ข้อมูลการประชุมกลุ่มย่อย ฉบับที่ 3 (สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา) และแบบวิเคราะห์ข้อมูลการประชุมกลุ่มย่อย ฉบับที่ 4 (สำหรับครูผู้สอน) ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น ฉบับที่ 5 ระยะที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออก เขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการจัดการเรียนรู้ ฉบับที่ 6 และแบบประเมินทักษะการอ่านออกเขียนได้ ฉบับที่ 7/1- ฉบับที่ 7/4 และระยะที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจและการปรับปรุงแก้ไข ฉบับที่ 8 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พบว่า สภาพปัจจุบันปัญหาการจัดการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา มีการวางแผนและการบริหารงานในสถานศึกษา โดยรวมมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด มีการสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ค่อนข้างบ่อย/มีปัญหาน้อย และได้แก้ปัญหาร่วมกันกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและจากการแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีการสัมภาษณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน และจากการประชุมกลุ่มย่อยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ได้แนวทางในการสร้างรูปแบบการบริหาร งานวิชาการเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้และสามารถสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีชื่อว่า “Participation Plus 6 Model” (พาทิซิเพชั่น พลัสซิก โมเดล) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ และ 4) ขั้นตอนของรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วม มี 6 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (Co-Collection and Analysis Data : C1) ขั้นที่ 2 การวางแผนการพัฒนา (Co-Plan for Development : C2) ขั้นที่ 3 การนำแผนสู่การปฏิบัติ (Co-Taking Action : C3) ขั้นที่ 4 การอภิปรายและสะท้อนความคิด (Co-Discussion and Reflect : C4) ขั้นที่ 5 การสร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Co-Create Continuous Learning Opportunities : C5) และขั้นที่ 6 การประเมินผลการจัดการเรียนรู้ (Co-Evaluation : C6)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พบว่า จากการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้และการสังเกตการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนมีความถูกต้อง เหมาะสมในระดับมาก และจากการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมแบบ “Participation Plus 6 Model” นักเรียนมีทักษะการอ่านออกเขียนได้ผ่านเกณฑ์การประเมินและส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พบว่า ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วม แบบ “Participation Plus 6 Model” อยู่ในระดับมากและมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยการมีส่วนร่วมแบบ “Participation Plus 6 Model” โดยควรมีการปรับปรุงในแต่ละขั้นตอนเพียงเล็กน้อย
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^