LASTEST NEWS

28 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบ ภาค ก ตำแหน่ง ผอ. - รองผอ.สถานศึกษา ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 27 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบ ภาค ก ตำแหน่ง ผอ. - รองผอ.สถานศึกษา ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 27 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 27 เม.ย. 2567สพป.ชุมพร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชุมพร เขต 2 27 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 27 เม.ย. 2567สพม.จันทบุรี ตราด ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.จันทบุรี ตราด 27 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท

บทคัดย่อ

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย        นางสาวพิมพ์ใจ แสงสอน
ปี        2565
บทคัดย่อ
        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อใช้และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คือ 2.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ก่อนและหลัง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนและหลัง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการทำงานเป็นทีม ก่อนเรียนและหลังของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3.) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 นักเรียนจำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 3 ชุด แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และการทดสอบค่าที (t-test) วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2. การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
        ผลการวิจัยพบว่า
            1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมในภาพรวมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.01 และมีประสิทธิภาพ 81.49/81.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
            2) ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้
                2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                2.2) ความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                2.3) ทักษะการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
            3.) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.77

sangsorn8239 28 ส.ค. 2566 เวลา 17:53 น. 0 157
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^