LASTEST NEWS

28 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบ ภาค ก ตำแหน่ง ผอ. - รองผอ.สถานศึกษา ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 27 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบ ภาค ก ตำแหน่ง ผอ. - รองผอ.สถานศึกษา ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 27 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 27 เม.ย. 2567สพป.ชุมพร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชุมพร เขต 2 27 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 27 เม.ย. 2567สพม.จันทบุรี ตราด ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.จันทบุรี ตราด 27 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท

การจัดกิจกรรม SING A SONG…ร้องผ่านจินตนาการ ตามแนวการเรียนรู้ โด

usericon

ชื่อนวัตกรรม    การจัดกิจกรรม SING A SONG…ร้องผ่านจินตนาการ ตามแนวการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องเล่าตามจินตนาการสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนวัดล้านตอง
ชื่อผู้เสนอผลงาน     นางอาทิตยา ธรรมสอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้     ภาษาไทย
โรงเรียน/หน่วยงาน     โรงเรียนวัดล้านตอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
เชียงใหม่ เขต 1
โทรศัพท์มือถือ 063 527 6201    อีเมล : Sandsunzaii@gmail.com

ความเป็นมาและความสำคัญของการพัฒนานวัตกรรม
ปัจจุบันเป็นยุคสมัยใหม่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย การจัดการเรียนการสอนการฝึกฝนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ จึงจำเป็นต้องใช้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ไม่ใช่ทักษะด้านการท่องจำ แต่ในสภาพปัจจุบัน ครูยังสอนด้วยวิธีการบรรยาย โดยยึดเนื้อหาจากหนังสือเรียน ไม่ได้ยึดมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด ตามหลักสูตร การสอนเป็นการสอนเนื้อหา ไม่ได้เน้นสอนกระบวนการ อันนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เมื่อเทียบกับนานาประเทศ ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนในยุคนี้จึงควรมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการสร้างทักษะแห่งอนาคตใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทักษะ และคุณลักษณะขั้นพื้นฐาน ที่สามารถใช้ชีวิตอยู่ใด้ในสังคมเศรษฐกิจสมัยใหม่ได้อย่างมีคุณภาพ รู้จักตัวเองรู้จักโลกและมีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต ดังนั้น การสร้างผู้เรียนให้มีศักยภาพในการใช้ชีวิตอยู่ใด้ในสังคมเศรษฐกิจสมัยใหม่จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยครูต้องเป็นผู้สร้างผู้เรียนทุกคนให้มีความรู้ความสามารถ และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skils) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้นำแนวคิดซองวิจารณ์ พาณิช (2555 หน้า 18-21) ที่ได้ดำเนินการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา มีการเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา และคุณภาพผู้เรียน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาครูผู้สอน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนให้เป็นครูยุคใหม่ ที่ไม่เน้นการสอนแต่จะทำหน้าที่สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เน้นการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ครูจะเป็นผู้ชี้แนะการเรียนรู้ (Coaching ในด้านเนื้อหาสาระสำคัญที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 จะยึดหลัก 3R ได้แก่ Reading (อ่านออก) (W) Riting (เขียนได้) (A) Rithemetics (คิดเลขเป็น) และ 8C ได้แก่ 1) Critical Thinking and Problem Sotving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) 2) Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม) 3) Cross cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) 4) Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมความเป็นผู้นำ) 5) Communications, Information and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) 6) Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) 7) Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพและการเรียนรู้) 8) Compassion (ความมีเมตตากรุณา มีวินัย คุณธรรม และจริยธรรม) ซึ่งเป็นภารกิจที่ผู้สอนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน ในการมีบทบาทจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทั้งในและนอกห้องเรียนเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว
ทักษะอาชีพและการเรียนรู้ มีความสำคัญสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากเป็นทักษะที่นักเรียนจะต้องนำไปดำเนินชีวิต และเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับในอนาคต ทักษะการเขียนและการเรียนรู้ คือความสามารถแสวงหาความรู้นำพาตนเองเรียนรู้ได้มีความมั่นใจในตัวเองกระตือรือร้นใฝ่รู้ มุ่งความเป็นเลิศ ดำรงชีวิตด้วยความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น เป็นพลเมืองที่ดีเคารพกติกา มีระเบียบวินัย คำนึงถึงสังคม มีคุณธรรม มีความเป็นไทยเข้าใจความหลากหลายทางวัฒนธรรม และแบ่งปันประสบการณ์ทักษะการทำงานหรืออาชีพ คือ ความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะในการทำงาน การติดต่อสื่อสาร การทำงานเป็นทีม แสดงภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ดีริเริ่มงาน ดูแลตนเองได้อดทนและขยันทำงาน ทักษะการเขียนและการเรียนรู้ คือการเรียนรู้ที่จะปรับตัวได้อย่างดีในสภาวะการเปลี่ยนแปลงหรือมีภัยคุกคามได้อย่างชาญฉลาด ถือเป็นเรื่องสำคัญในการดำรงชีวิตที่มีทักษะชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 และการคิดสร้าง ผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอบสนองการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันไป นำไปสู่การเผยแพร่ นำเทคนิควิธีการใช้และพัฒนาทักษะใช้เกิดเป็นกลยุทธ์ ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องมีการส่งเสริมให้ทันในยุคการเปลี่ยนแปลงและการเรียนรู้ โดยPartnership for 21 Century Skills ได้มีการแบ่งเป็น 5 ด้าน คือ (1) ความยืดหยุ่นและการปรับตัว(2) เป็นผู้มีความคิดริเริ่มและเป็นผู้นำ (3) ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม (4) การเพิ่มผลผลิตและการรู้รับผิด (5) ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระตามหลักสูตรควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะที่จำเป็น โดยกำหนดแผนการบริหารงานวิชาการให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning : ABL) เป็นการจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เน้นให้ผู้เรียนท่องจำ แต่ให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงและมีบทบาทในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์และเรียนรู้จากกิจกรรมที่ได้ทำจริง (Learning by doing) โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฏิสัมพันธ์ และการร่วมมือกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน มีวินัยในการทำงานและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบร่วมกัน โดยผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง (สุทัศ เอกา, 2557) การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานเป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้แบบเดิมที่เป็นแบบตั้งรับ (Passive learning) เรียนรู้โดยการอ่านท่องจำ การฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว โดยที่ผู้เรียนไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมอื่นในขณะที่ครูสอนมาเป็นกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ที่ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้ ความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้ นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ครูออกแบบมา มีจุดมุ่งหมายให้เกิดความสนุกสนาน น่าสนใจ และไม่เกิดความเบื่อหน่าย โดยครูจะอำนวยความสะดวก ให้คำแนะนำ กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ (McGrathMacEwan, 2011: 261; Stoblein, 2009: 4; วิโรจน์ ลักขณาอดิศร, 2552:ออนไลน์;บุรี, 2556: ออนไลน์; สุทัศน์ เอกา, 2556: ออนไลน์) และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ตามแนวการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน สามารถนำแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันที่ไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน จะสามารถช่วยเหลือให้นักเรียนเปลี่ยนสารสนเทศเป็นความรู้ได้เป็นอย่างดี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เป็นกลุ่มสาระที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงจึงได้กำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ดังนี้ (กรมวิชาการ, 2545 : 3-17)
สาระที่ 1 : การอ่าน
     มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
สาระที่ 2 : การเขียน
     มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสารเขียนเรียงความย่อความและเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
สาระที่ 3 : การฟัง การดู และการพูด
     มาตรฐาน ท 3.1 สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณและพูดแสดงความรู้ความคิดความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
สาระที่ 4 : หลักการใช้ภาษา
     มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทยการเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษาภูมิปัญญาทางภาษา และรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
     มาตรฐาน ท 4.2 สามารถใช้ภาษาแสวงหาความรู้เสริมสร้างลักษณะนิสัยบุคลิกภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมอาชีพสังคม และชีวิตประจำวัน
สาระที่ 5 : วรรณคดีและวรรณกรรมไทย
     มาตรฐาน ท 5.1 เข้าใจและแสดงความคิดเห็นวิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
เมื่อเรียนจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยแล้วผู้เรียนต้องมีความรู้ความสามารถคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม (กรมวิชาการ, 2545 : 9-13) ดังนี้
     1. สามารถใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างดี
     2. สามารถอ่านเขียนฟังดูและพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     3. มีความคิดสร้างสรรค์คิดอย่างมีเหตุผลและคิดเป็นระบบ
     4. มีนิสัยรักการอ่านการเขียนการแสวงหาความรู้และใช้ภาษาไทยในการพัฒนาตนและสร้างสรรค์งานอาชีพ
     5. ตระหนักในวัฒนธรรมการใช้ภาษาและความเป็นไทยภูมิใจและชื่นชมในวรรณคดีและวรรณกรรมซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนไทย
     6. สามารถนำทักษะทางภาษามาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามสถานการณ์และบุคคล
     7. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและสร้างความสามัคคีในความเป็นชาติไทย
     8. มีคุณธรรมจริยธรรมวิสัยทัศน์โลกทัศน์ที่กว้างไกลและลึกซึ้งเมื่อจบแต่ละช่วงชั้นผู้เรียนต้องมีความรู้ความสามารถคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมตามที่กำหนดในช่วงชั้นที่ 3 ต้องมีความรู้ความสามารถและคุณธรรมและค่านิยมดังนี้
1. อ่านอย่างมีสมรรถภาพและอ่านได้เร็วยิ่งขึ้น
2. เข้าใจวงคำศัพท์ที่กว้างขึ้นสำนวนและโวหารที่ลึกซึ้งแสดงความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์ประเมินค่าเรื่องที่อ่านอย่างมีเหตุผล
3. เลือกอ่านหนังสือและสื่อสารสนเทศจากแหล่งเรียนรู้ได้กว้างขวางตามจุดประสงค์
4. เขียนเรียงความย่อความและจดหมายเขียนอธิบายชี้แจงรายงานเขียนแสดงความคิดเห็นแสดงการโต้แย้งและเขียนเชิงสร้างสรรค์
5. สรุปความจับประเด็นสำคัญวิเคราะห์วินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อคิดเห็นและจุดประสงค์ของเรื่องที่ฟังและดู
6. รู้จักเลือกใช้ภาษาเรียบเรียงข้อความได้อย่างประณีตจัดลำดับความคิดขั้นตอนในการนำเสนอตามรูปแบบของงานเขียนประเภทต่างๆ
7. พูดนำเสนอความรู้ความคิดการวิเคราะห์และการประเมินเรื่องราวต่างๆพูดเชิญชวนอวยพรและพูดในโอกาสต่างๆ อย่างเหมาะสม
8. เข้าใจธรรมชาติของภาษาในการนำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย
9. ใช้ภาษาแสดงความคิดเห็นสร้างความเข้าใจโน้มน้าวใจปฏิเสธเจรจาต่อรองด้วยภาษาและกิริยาท่าทางที่สุภาพ
10. ใช้ภาษาทางภาษาในการแสวงหาความรู้การทำงานและใช้อย่างสร้างสรรค์เป็นประโยชน์
11. ใช้หลักการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมพิจารณาวรรณคดีและวรรณกรรมให้เห็นคุณค่าและนำประโยชน์ไปใช้ในชีวิต
12. แต่งกาพย์กลอนและโคลง
13. ท่องจำบทร้อยกรองที่ไพเราะและนำไปใช้กล่าวอ้างในการพูดและการเขียน
14. ร้องเล่นหรือถ่ายทอดเพลงพื้นบ้านและบทกล่อมเด็กในท้องถิ่น
15. มีมารยาทในการอ่านการเขียนการฟังการดูและการพูด
16. มีนิสัยรักการอ่านและการเขียน
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2550 : ภาคผนวก 2/8) ได้ให้ความหมายการเขียนว่า หมายถึง การสื่อสารด้วยตัวอักษรเพื่อถ่ายทอดความรู้ความคิดอารมณ์ความรู้สึกประสบการณ์ข่าวสารและจินตนาการโดยการใช้ภาษาที่ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการใช้ภาษาและตรงตามเจตนาของผู้เขียน นอกจากนี้การเขียนนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการสื่อความหมายอย่างหนึ่งของมนุษย์สามารถตรวจสอบได้และคงทนถาวรซึ่งมีนักการศึกษาได้ให้ความสำคัญของการเขียนไว้ดังนี้ เรวดี อาษานาม (2537 : 151) ได้สรุปความสำคัญของการเขียนไว้ดังนี้ คือเด็กที่มีความสามารถในการอ่านและประสบความสำเร็จในการเขียนมากจะมีจินตนาการในการใช้ภาษาได้ดีเพราะได้มีโอกาสเรียนรู้แนวทางการใช้คำต่าง ๆ จากสำนวนภาษาในหนังสือต่าง ๆ ที่อ่านพบโดยปกติครูมักสอนให้เด็กอ่านได้ก่อนจึงให้เขียนคำที่ทนอ่านได้แต่ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่สลับซับซ้อนกว่าทักษะอื่นเด็กจึงจำเป็นต้องมีความพร้อมโดยฝึกทักษะการฟังการพูดและการอ่านได้ก่อนแล้วจึงเริ่มทักษะการเขียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มุ่งเน้นทักษะพื้นฐานในการเขียนและยั่วยุให้เขียนด้วยความสนุกสนานไม่เบื่อโดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ฝึกจากง่ายไปหายากและให้สัมพันธ์กับการพูดและการอ่านของผู้เรียนด้วย
จากความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว ผู้วิจัยในฐานะครูผู้สอนโรงเรียนวัดล้านตอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการส่งเสริมทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนยังขาดทักษะในการเขียนเป็นส่วนใหญ่ และพบปัญหาว่าผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่ายในการเรียนวิชาภาษาไทย เนื่องด้วยธรรมชาติของวิชาค่อนข้างจะมีเนื้อหาที่มากพอสมควร ผู้สอนจึงได้นำบทเพลงในโซเชียลซึ่งผู้เรียนทุกคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี เช่น Tik Tok , Youtube, Facebook และอื่น ๆ อีกมากมาย มาเป็นตัวกระตุ้นความสนใจให้ผู้เรียนอยากที่จะเรียนวิชาภาษาไทยมากยิ่งขึ้นโดยนำบทเพลงทางโซเชียลที่นักเรียนสนใจมาประยุกต์ใช้ในวิชาภาษาไทยเรื่องการเขียนเรื่องเล่าตามจินตนาการ จึงได้สนใจศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานผ่านกิจกรรม SING A SONG…ร้องผ่านจินตนาการ ตามแนวการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเรื่องเล่าตามจินตนาการสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญของกระบวนการเขียนสื่อสาร โดยเขียนเรื่องราวในรูปแบบบทเพลงผ่านจินตนาการ โดยใช้กระบวนการค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นทักษะขั้นพื้นฐานของวิชาภาษาไทยสาระที่ 2 คือทักษะการเขียน เป็นการพัฒนาทักษะการเขียนสู่การปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ในด้านทักษะของการเขียน (writing) และรองรับการเข้าสู่ไทยแลนด์ 4.0 อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดกับผู้เรียนและบรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติที่ว่านักเรียนเป็นผู้ที่ดี เก่ง มีสุข และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป
วัตถุประสงค์การพัฒนานวัตกรรม
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
1. เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนและการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ SING A SONG…ร้องผ่านจินตนาการ ตามแนวการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนรู้จากการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ SING A SONG…ร้องผ่านจินตนาการ ตามแนวการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนและการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
sandsunzaii 27 ส.ค. 2566 เวลา 15:47 น. 0 135
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^