LASTEST NEWS

12 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 11 ก.ย. 2567ประกาศแล้ว รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบครูผู้ช่วย กทม. ครั้งที่ 1/2567 11 ก.ย. 2567สพฐ.เชิงรุกลดภาระครูต่อเนื่อง เน้นย้ำ “ประเมินเลื่อนเงินเดือนครู” งดจัดนิทรรศการ งดทำรูปเล่มเอกสาร ใช้เทคโนโลยีช่วย 11 ก.ย. 2567ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว 5581 ลงวันที่ 10 กันยายน 2567 เรื่อง การจัดสรรอัตราจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 11 ก.ย. 2567ด่วน! ก.ค.ศ.อนุมัติจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณฯ ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ให้ สพฐ. จำนวน 12,502 อัตรา เฉพาะตำแหน่งครูผู้ช่วย 10,303 อัตรา 11 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 10 ก.ย. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) ประกาศผลครูผู้ช่วยอาชีวะ ปี 2567 หลัง 17.00 น. วันที่ 10 ก.ย.67 10 ก.ย. 2567ศูนย์สอบธรรมศาสตร์ แจ้งร้อยละผู้สอบผ่าน ตำแหน่งครูผู้ช่วย อาชีวะ 2567 แยกกตามสาขาวิชา 10 ก.ย. 2567นโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล “นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี” 10 ก.ย. 256741 สพท. ถอดรหัสแนวปฏิบัติโรงเรียนคุณภาพ

การพัฒนารูปแบบขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วงล้อสร้างสรรค์ 7 ขั้น

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วงล้อสร้างสรรค์ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้วิจัย นางสาวจินตนา เกตุพิบูลย์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์ สำนักงานเขตบางนา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา

ปีการศึกษา 2563 - 2565

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วงล้อสร้างสรรค์ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอนวิชาสุขศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางนา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ที่มีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมจำนวนทั้งหมด 9 คน ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและหาคุณภาพรูปแบบฯ โดยนำข้อมูลจากขั้นตอนที่ 1 มายกร่างรูปแบบฯ และหาคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบฯ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนสอนแบบโครงงาน จำนวน 2 คน ตัวแทนครูผู้สอนวิชาสุขศึกษา จำนวน 3 คน ตัวแทนผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนสอน คือ ตัวแทนผู้ปกครอง 1 คน ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1 คน รวม 7 คน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบฯ โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนศรีเอี่ยมอนุสรณ์ สำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร จำนวน 39 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอนวิชาสุขศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 คน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอน รวมจำนวนทั้งหมด 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบค่าทีแบบ t-test (Dependent Sample) วิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Contents Analysis) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ และหาข้อสรุปร่วม (Common Conclusion)
ผลการวิจัยพบว่า

ผลการพัฒนารูปแบบขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้วงล้อสร้างสรรค์ 7 ขั้น เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

1. สภาพปัญหาและแนวทางในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ตามวงจร PDCA ร่วมกับ PBL การมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เอกสารประกอบการเรียน และกิจกรรม ที่จัดร่วมกับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในชีวิต

2. รูปแบบฯ ที่สร้างขึ้น ประกอบด้วย การจัดการเรียนรู้วงล้อสร้างสรรค์ 7 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 Define (การกำหนดปัญหา) ขั้นที่ 2 Plan (การวางแผน) ขั้นที่ 3 Do (การลงมือทำ) ขั้นที่ 4 Check (การตรวจสอบผลการปฏิบัติ) ขั้นที่ 5 Review (การทบทวนการเรียนรู้) ขั้นที่ 6 Presentation (การนำเสนอ) และขั้นที่ 7 Action (การพัฒนา / ปรับปรุงแก้ไข) การมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เอกสารประกอบการเรียน ชุดการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในชีวิต และกิจกรรมที่จัดร่วมกับบุคคลภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในชีวิต และคุณภาพของรูปแบบฯ มีความเหมาะสมและความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ โดยภาพรวมรูปแบบฯ มีความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด

4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบฯ เอกสารประกอบการเรียน ชุดการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้านคุณภาพโดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48 มีประสิทธิภาพร้อยละ 84.31/83.08 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 คะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยหลังการใช้มีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนใช้ และหลังการใช้มีค่าดัชนีประสิทธิผลโดยภาพรวมนักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.648 คิดเป็นร้อยละ 64.80 นักเรียน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ ในระดับมากที่สุด รวมทั้งนักเรียนได้สร้างสรรค์ผลงานโครงงาน จำนวน 7 ผลงาน ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบฯ ในระดับมากที่สุด และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ ต่อรูปแบบฯ ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ: รูปแบบ/การจัดการเรียนรู้วงล้อสร้างสรรค์ 7 ขั้น /เอกสารประกอบการเรียน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^