เผยแพร่ แผนการจัดการเรียนรู็
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๒
รายวิชา วิทยาศาสตร์ รหัสวิชา 12101 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ชื่อ ดินในท้องถิ่นของเรา เวลา.....10..... ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 ชื่อ ลักษณะและคุณสมบัติของดิน เวลา 1 ชั่วโมง
ครูผู้สอน นางสาววรรณวิสา ก้าววุ่น วันที่สอน......................................เวลาที่สอน 09.30-10.30 น
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 3.2 เข้าใจองค์ประกอบ และความสัมพันธ์ของระบบโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก และบนผิวโลก ธรณีพิบัติภัย กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศโลก รวมทั้ง ผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
ป.2/1 ระบุส่วนประกอบของดิน และจำแนกชนิดของดิน โดยใช้ลักษณะเนื้อดิน และการจับตัว เป็นเกณฑ์
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. จำแนกชนิดของดิน โดยใช้ลักษณะเนื้อดิน และการจับตัวเป็นเกณฑ์ได้ (K)
2. ปฏิบัติกิจกรรมการอุ้มน้ำของดินได้อย่างถูกต้องและเป็นลำดับขั้นตอน (P1)
3. เขียนแผนผังความคิด เรื่อง ลักษณะและคุณสมบัติของดินได้ (P2)
4. มีความใฝ่เรียนรู้และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่ม (A)
สาระการเรียนรู้
ดิน ประกอบด้วย เศษหินซากพืชซากสัตว์ผสมอยู่ในเนื้อดินมีอากาศและน้ำแทรกอยู่ตามช่องว่างใน เนื้อดิน ดินจำแนกเป็น ดินร่วน ดินเหนียว และดินทราย ตามลักษณะเนื้อดินและการจับตัวของดินซึ่งมีผลต่อ การอุ้มน้ำที่แตกต่างกัน
สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
ดินเป็นสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่ประกอบด้วย เศษหิน ซากพืช ซากสัตว์ ซึ่งดินในแต่ละท้องถิ่นมี สมบัติทางกายภาพแตกต่างกันออกไป
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
4. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีวินัย รับผิดชอบ
2. ใฝ่เรียนรู้
3. ซื่อสัตย์ สุจริต
4. มุ่งมั่นในการทำงาน
กิจกรรมการเรียนรู้ แนวคิด/รูปแบบการสอน/วิธีการสอน/เทคนิค : สืบเสาะหาความรู้ (5Es Instructional Model)
ขั้นนำ
ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Engage)
1. ครูทบทวนความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพของดิน จากนั้นครูแจ้งจุดประสงค์ การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
2. ครูเปิดแผ่นความรู้เกี่ยวกับสมบัติของดิน ให้นักเรียนดู จากนั้นครูตั้งประเด็นคำถามกระตุ้นความสนใจ นักเรียนว่า “ถ้านักเรียนจะเพาะปลูกพืชชนิดหนึ่ง นักเรียนคิดว่าดินควรมีลักษณะเป็นอย่างไร” โดยให้นักเรียน แต่ละคนร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระโดยไม่มีการเฉลยว่าถูกหรือผิด (แนวตอบ : ดินจะต้องมีลักษณะเป็นเนื้อหยาบ มีความพรุนมาก และมีสีเข้ม) ขั้นสอน
ขั้นที่ 2 สำรวจค้นหา (Explore)
1. นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 คน ตามความสามารถ (เก่ง กลาง อ่อน) จากนั้นให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษา ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่อง ลักษณะของเนื้อดินและการจับตัวของดิน จากใบความรู้ โดยให้แต่ละคนภายในกลุ่มแบ่งหน้าที่กันศึกษา จากนั้น ให้แต่ละคนภายในกลุ่มนำเรื่องที่ตนเองศึกษาค้นคว้ามาอธิบายให้เพื่อนในกลุ่มฟัง แล้วร่วมกันสรุปข้อมูลที่ได้ใบงาน ใบงานเรื่อง ลักษณะทางกายภาพของดิน (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม)
2. ครูคอยแนะนำช่วยเหลือนักเรียนแต่ละกลุ่มขณะปฏิบัติกิจกรรม และเปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคน ซักถามเมื่อเกิดปัญหาหรือข้อสงสัย
3. ครูจัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมการอุ้มน้ำของดิน เรื่อง การอุ้มน้ำ ของดิน มาวางไว้หน้าชั้นเรียน ดังนี้
- น้ำ 3 แก้ว
- ถาดขนาดกลาง 3 ใบ
- แว่นขยาย 1 อัน
- ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย ชนิดละ 1 ถุง (ครูเตรียมให้)
- ขวดพลาสติกแบบเดียวกัน 3 ใบ (ตัดขวดเป็น 2 ท่อน และเจาะรูที่ฝาขวดให้มีขนาดและจำนวนของรูที่เท่ากันทุกฝา)
4. จากนั้นครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดเตรียม อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมการอุ้มน้ำของดิน จากใบบันทึกผลการทดลอง เรื่อง สังเกตลักษณะทางกายภาพของดินแต่ละชนิด
5. ครูแจ้งจุดประสงค์ของกิจกรรม เรื่อง การอุ้มน้ำของดิน ให้นักเรียนทราบ เพื่อเป็นแนวทางการ ปฏิบัติที่ถูกต้อ’
6. นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติกิจกรรมการอุ้มน้ำของดิน โดยให้สมาชิกภายในกลุ่มปฏิบัติ ดังนี้
- ใช้แว่นขยายส่องดูเนื้อดินและใช้มือสัมผัสเนื้อดิน จากนั้นนำดินทั้ง 3 กลุ่ม แยกใส่กระป๋อง กระป๋อง ละ 1 กลุ่ม ในปริมาณที่เท่ากัน
- วางกระป๋องแต่ละใบลงบนแก้วเปล่า แล้วตักน้ำเทใส่กระป๋องที่มีดิน กระป๋องละ 1 แก้วโดยเทลง ช้า ๆ สังเกตปริมาณน้ำที่ไหลออกมาจากทั้ง 3 กระป๋อง
7. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้จากการทดลอง มาร่วมกันวิเคราะห์ผลการปฏิบัติกิจกรรมแล้ว อภิปรายผลและสรุปผลการทดลองที่เกิดขึ้นลงในใบบันทึกผลการทดลอง เรื่อง สังเกตลักษณะทางกายภาพของดินแต่ละชนิด (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม)
ขั้นสอน
ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้ (Explain)
8. นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดจน ครบทุกกลุ่ม ในระหว่างที่นักเรียนนำเสนอครูคอยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ ถูกต้อง (หมายเหตุ : ครูเริ่มประเมินนักเรียน โดยใช้แบบประเมินการนำเสนอผลงาน)
9. นักเรียนร่วมกันดูคลิปวิดีโอ เรื่อง ดิน จาก สื่อ OBEC Content Center
9. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรมและความรู้จากคลิปวิดีโอ เรื่อง ดิน ซึ่งได้ข้อสรุป ร่วมกันว่า “ลักษณะของเนื้อดินมีผลต่อการอุ้มน้ำของดิน ดังนี้
1) เนื้อดินหยาบ จะมีช่องว่างระหว่างเนื้อดินมาก จึงอุ้มน้ำได้น้อย
2) เนื้อดินละเอียด มีช่องว่างระหว่างเนื้อดินน้อย ดินจับตัวกันแน่น จึงอุ้มน้ำได้มาก 3) เนื้อดินปานกลาง มีเนื้อดินโปร่ง น้ำซึมได้พอสมควร จึงอุ้มน้ำได้ปานกลาง”
10. ครูนำบัตรคำชื่อดิน 3 ชนิด มาติดไว้บนกระดาน
11. ครูตั้งคำถามกระตุ้นความคิดนักเรียนจากบัตรภาพดิน 3 ชนิดว่า “ดินแต่ละชนิด เรียกว่าอะไรมี ลักษณะและสมบัติอย่างไร” โดยให้นักเรียนยกมือตอบ
(แนวตอบ : - ดินชนิดที่ 1 เรียกว่า ดินเหนียว มีเนื้อเนียน ละเอียดมาก น้ำไหลซึม ผ่านได้ช้าที่สุดและอุ้มน้ำไว้ มาก ที่สุด เมื่อเปียก จะลื่นติดมือ แต่เมื่อแห้งจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง - ดินชนิดที่ 2 เรียกว่า ดินร่วน มีเนื้อนุ่มมือ แต่ไม่ละเอียดเท่าดินชนิดที่ 1 น้ำไหลซึมผ่านได้เร็วว่าดิน ชนิดที่ 1 แต่ช้ากว่า - ดินชนิดที่ 3 เรียกว่า ดินทราย มีเนื้อหยาบ สากมือทั้งเมื่อเปียกและแห้ง น้ำไหลซึมผ่านได้เร็วที่สุด และ อุ้มน้ำไว้ได้น้อยที่สุด เนื้อดินไม่จับตัวกัน)
ขั้นที่ 4 ขยายความเข้าใจ (Elaborate)
12. ครูนำบัตรข้อความเกี่ยวกับสมบัติของดินแต่ละชนิด ใส่ไว้ในกล่อง จากนั้นครูสุ่มนักเรียน หยิบบัตรคำแล้วอ่านข้อความนั้นให้เพื่อน ๆ ในชั้นเรียนฟัง แล้วถามเพื่อน ๆ ว่าข้อความที่จับได้เป็น ลักษณะของดินชนิดใด โดยให้นักเรียนยกมือตอบ ตัวอย่างฉลากข้อความ มีดังนี้
- เม็ดดินเล็กที่สุด
- เม็ดดินใหญ่ที่สุดเมื่อแห้งแล้วจะแข็งมาก
- น้ำซึมผ่านได้ยาก
- เหมาะแก่การปลูกข้าว
- ไม่เหมาะกับการปลูกพืชชนิดอื่น
- เอาไปปั้นเป็นเครื่องปั้นดินเผา ถ้วย ชาม โอ่ง ไห ของเล่น ก้อนอิฐ
- ร่วนซุย มีสีดำ หรือ ดำมาก เพราะมีซากพืชซากสัตว์ปนอยู่มาก
- เอามาปั้นแล้วบี้ให้เป็นแผ่นบาง ๆ ได้ดีกว่าดินชนิดอื่น ๆ
- เอาไปสร้างบ้านดิน
- เนื้อดินแน่นละเอียด
- เป็นเม็ดละเอียด เนื้อดินโปร่ง อุ้มน้ำได้พอสมควร
- เป็นส่วนผสมของดินเหนียวกับดินทราย
- นำไปปลูกพืช ผัก ต้นไม้ ได้ผลดีมาก
- เม็ดทรายปนอยู่มาก เนื้อดินหยาบ ไม่ยึดเกาะกัน
- ไม่อุ้มน้ำ น้ำไหลผ่านได้ดี
- ใช้ในงานก่อสร้าง ทำถนน
13. ครูเขียนคำตอบที่นักเรียนบอกไว้บนกระดาน โดยครูให้นักเรียนร่วมกันพิจารณาว่าคำตอบใด ถูกต้อง จากนั้นครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้องให้นักเรียน
14. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่อง ลักษณะและสมบัติของดิน และให้ความรู้ เพิ่มเติมจากคำถามของนักเรียน
ขั้นสรุป
ขั้นที่ 5 ตรวจสอบผล (Evaluate)
1. นักเรียนแต่ละคนดูตารางตรวจสอบตนเอง จากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.2 จากนั้นครูถามนักเรียนเป็นรายบบุคคล เพื่อเป็นการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนหลังจากการ เรียนจบหน่วยการเรียนที่ 6ดินในท้องถิ่นของเรา
2. ครูประเมินผล โดยการสังเกตพฤติกรรมการตอบคำถาม พฤติกรรมการทำงานรายบุคคลพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม และจากการนำเสนอผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
3. นักเรียนและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับลักษณะและสมบัติของดิ
การวัดและประเมินผล
รายการวัด วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน
1.ประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1. การอุ้มน้ำของดิน ตรวจใบบันทึกผลการทดลอง เรื่อง สังเกตลักษณะทางกายภาพของดินแต่ละชนิด ใบบันทึกผลการทดลอง เรื่อง สังเกตลักษณะทางกายภาพของดินแต่ละชนิด ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
2. การนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรม -ประเมินผลการนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง แบบประเมินผลการนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมการทดลอง ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
3.กิจกรรมสรุปลักษณะและคุณสมบัติของดิน
ตรวจแผนผังความคิดลักษณะและคุณสมบัติของดิน ตรวจแผนผังความคิดลักษณะและคุณสมบัติของดิน ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
4.พฤติกรรมการ ทำงานรายบุคคล - สังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานรายบุคคล - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
5. พฤติกรรมการ ทำงานกลุ่ม สังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม แบบสังเกตพฤติกรรม การทำงานกลุ่ม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
6.คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ สังเกตความมีวินัย รับผิดชอบ ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการ ทำงาน แบบประเมิน คุณลักษณะ อันพึงประสงค์ ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้
1) หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ป.2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ดินในท้องถิ่นของเรา
2) ใบงาน เรื่อง การอุ้มน้ำของดิน
3) วัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมการอุ้มน้ำของดิน
4) บัตรภาพดิน 3 ชนิด
5) สลากข้อความเกี่ยวกับสมบัติของดินแต่ละชนิด
6) PowerPoint เรื่อง ลักษณะและสมบัติของดิน
แหล่งการเรียนรู้
1) ห้องสมุด
2) http://contentcenter.obec.go.th/
บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
1 สรุปผลหลังการจัดการเรียนรู้
1. นักเรียนจำนวน..................คน
ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้......................คน คิดเป็นร้อยละ..................
ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้..................คน คิดเป็นร้อยละ..................
นักเรียนนี่ไม่ผ่าน มีดังนี้
1............................................................ 2............................................................
3............................................................ 4............................................................ 5............................................................ 6............................................................
แนวทางแก้ไขนักเรียนที่ไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ (K)
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
3. นักเรียนมีความรู้เกิดทักษะ (P)
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
4. นักเรียนมีเจตคติ ค่านิยม คุณธรรมจริยธรรม (A)
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
2 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
…………………………………………………………………………………………………………………………………………..
3 ข้อเสนอแนะ
………………………………………………………………………………………………………………………………………….
ลงชื่อ..................................................
(นางสาววรรณวิสา ก้าววุ่น)
ครู
ความเห็นของหัวหน้าสถานศึกษา/ผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ได้ทำการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ของ นางสาววรรณวิสา ก้าววุ่น แล้วมีความเห็นดังนี้
1. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่
ดีมาก
ดี
พอใช้
ควรปรับปรุง
2. การจัดกิจกรรมได้นำเอากระบวนการเรียนรู้
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมาใช้ในการสอนได้อย่างเหมาะสม
ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ควรปรับปรุงพัฒนาต่อไป
3. เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่
นำไปใช้ได้จริง
ควรปรับปรุงก่อนนำไปใช้
4. ข้อเสนอแนะอื่นๆ
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ..................................................
(นางสาวปภาวรินท์ เขมะชัยเวช)
ผู้อำนวยการโรงเรียนสหกรณ์นิคมอ่าวลึก ๒