LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดย
    ใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์
    สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้ 3.1) หาประสิทธิภาพของรูปแบบที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3.2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.3) ศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3.4) ศึกษาเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาผลการใช้รูปแบบเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาลนาเชือก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ 3) คู่มือการใช้รูปแบบ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 7) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียน 8) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที แบบ Dependent Samples t-test และ One Sample t-test
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันครูมุ่งเน้นให้ความรู้ด้านเนื้อหาแก่นักเรียนโดยเน้นวิธีการสอนแบบบรรยาย เนื่องจากไม่ต้องเตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ในการสอน อีกทั้งมีข้อจำกัดเรื่องเวลา ต้องสอนให้จบเนื้อหาตามหลักสูตร ส่งผลให้นักเรียนขาดการเชื่อมโยงความรู้ ขาดการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ไม่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ แต่ขาดแนวทางในการปฏิบัติ ขาดทักษะ และการนำความรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ครูควรจัดการเรียนรู้โดยเน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ร่วมกันระดมสมอง เพื่อสร้างแนวคิดอย่างหลากหลาย อภิปราย โต้แย้ง แบ่งปัน โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและสนับสนุน
        2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า SEAEA Model ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิด และทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 นำเสนอสิ่งเร้าและระบุปัญหา (Stimulating and Invented the problem) ขั้นที่ 2 ขั้นร่วมมือกันค้นหาคำตอบ (Exploration) ขั้นที่ 3 วิเคราะห์และสรุปผล (Analyzing and conclude) ขั้นที่ 4 ประเมินและสะท้อนผล (Evaluating and Reflecting) ขั้นที่ 5 ประยุกต์ใช้ความรู้ (Applying) 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน ผลการประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
        3. ประสิทธิภาพของรูปแบบเท่ากับ 82.86/81.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบมีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับ มากที่สุด
        4. ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบ โดยปรับลดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเวลา ปรับความยากง่ายของแบบทดสอบ และจัดระบบสนับสนุนในชั้นเรียน

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^