LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567

การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

usericon

การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาแบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวัง และความต้องการความจำเป็นเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) เพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย ผู้วิจัยแบ่งขั้นตอนการดำเนินการออกเป็น 5 ระยะ ดังนี้    ระยะที่ 1 ศึกษาแบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยครูผู้สอนที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ครูวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 214 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน รวมจำนวน 214 คน ระยะที่ 3 พัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) ที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้บริหารการศึกษา จำนวน 3 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 3 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน อาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาวิชาการบริหารการศึกษา จำนวน 3 คน และครูผู้สอน จำนวน 3 คน โดยแบ่งออกเป็นขั้นตอนได้ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 หารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การยืนยันรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัด การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้บริหาร และครูผู้สอนในเขตพัฒนาการศึกษาหนองกี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 3 โรงเรียนรวมทั้งสิ้น จำนวน 44 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมทดลองใช้รูปชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” และระยะที่ 4 ศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัด การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้บริหาร และครูผู้สอนในเขตพัฒนาการศึกษาหนองกี่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 3 โรงเรียนรวมทั้งสิ้น จำนวน 44 คน ที่สมัครใจเข้าร่วมทดลองใช้รูปชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
    ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลศึกษาแบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน 1.1) ผลศึกษาแบบปฏิบัติตนที่เป็นเลิศชุมชนแห่งการเรียนรู้จากโรงเรียน ประกอบด้วย การมีวิสัยทัศน์ค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน การปฏิบัติที่มีเป้าหมายร่วมกัน การร่วมมือรวมพลังของทีม การเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน การสนทนาที่มุ่งสะท้อนผลการปฏิบัติงาน การวิจัยร่วมกัน โครงสร้างสนับสนุนชุมชน และการมีภาวะผู้นำร่วม 1.2) ผลการศึกษาแบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานจากครูผู้สอน ประกอบด้วย การวางแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน และการประเมินผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
    2. ผลศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 2.1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า ความสำคัญความต้องการจำเป็นของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย การมีวิสัยทัศน์ค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน การปฏิบัติที่มีเป้าหมายร่วมกัน การร่วมมือรวมพลังของทีม การเปิดรับการชี้แนะการปฏิบัติงาน การสนทนาที่มุ่งสะท้อนผลการปฏิบัติงาน การมีภาวะผู้นำร่วม โครงสร้างสนับสนุนชุมชน และการวิจัยร่วมกัน 2.2) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานพบว่า ความสำคัญความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานประกอบด้วย การวางแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน และการประเมินผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน
    3. ผลพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 3.1) ผลการหารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของรูปแบบ กระบวนการของรูปแบบ การวัดและประเมินผล และการนำรูปแบบไปใช้ 3.2) ผลการยืนยันรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญ คิดเป็นร้อยละ 96.36 3.3) ผลการพัฒนาคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ส่วนที่ 3 เนื้อหาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน และส่วนที่ 4 เครื่องมือการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน และ3.4) การประเมินคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า อยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42 แยกเป็นรายด้านได้ดังนี้ 3.4.1) ความถูกต้อง อยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.47 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 3.4.2) ความเป็นไปได้ อยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49 3.4.3) ความเหมาะสม อยู่ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 และ3.4.4) ความเป็นประโยชน์อยู่ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63
    4. ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4.1) ผลประเมินการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน พบว่า อยู่ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.42 4.2) ผลประเมินการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงงานเป็น พบว่า อยู่ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.20 4.3) แบบประเมินการประเมินการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของการประเมินผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน พบว่า อยู่ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.14
    5. ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า อยู่ระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^