LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

รูปแบบการนิเทศโดยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : รูปแบบการนิเทศโดยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ผู้วิจัย    :     นางอินทิรา ปงลังกา
ปีการศึกษา :     2564

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการดำเนินวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน โดย 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการของครูจำนวน 43 คน 3) สนทนากลุ่มครูวิชาการ จำนวน 9 คน 4) สนทนากลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 6 คน โดยใช้แบบสรุปข้อมูล แบบสรุปข้อมูล แบบบันทึกการประชุม และประเด็นสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบ โดยการออกแบบและยกร่างรูปแบบ ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบและความเหมาะสมของคู่มือรูปการใช้แบบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน โดยใช้การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและแบบตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบ โดยนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) จำนวน 43 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เพื่อประเมินความสามารถในการปฏิบัติตามกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน ความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน และสรุปข้อมูลสะท้อนผลการส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยรวม เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ แบบประเมิน จำนวน 2 ฉบับ และแบบสรุปข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test for one sample วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปข้อมูล ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบในด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครู รวม 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น พบว่า 1) ครูมีความต้องการได้รับการสนับสนุนให้ทำวิจัยในชั้นเรียน และใช้ผลงานการทำวิจัยในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาความดีความชอบ โดยมีการกำหนดนโยบายด้านการวิจัยที่ชัดเจน สร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยในชั้นเรียน ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียน โดยในระหว่างการปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียน ให้ความช่วยเหลือ คำแนะนำ ปรึกษา และร่วมกันสะท้อนผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา นิเทศติดตามผลการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนของครูอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้ครูทำผลงานประกวดในระดับต่าง 2) แนวทางการนิเทศเพื่อส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน คือ ส่งเสริมพัฒนาครูผู้สอนให้ศึกษาวิเคราะห์วิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้โดยใช้ระบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ (PLC) ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการวางแผนการนิเทศอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมให้ครูผู้สอนเป็นผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และนำเสนอข้อแนะนำเพื่อการปรับปรุงระบบการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ
2. รูปแบบการนิเทศโดยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการนิเทศ การวัดและประเมินผล เงื่อนไขความสำเร็จ โดยมีกระบวนการนิเทศ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นสร้างทีมและกำหนดข้อตกลงร่วมกัน 2) ขั้นวางแผนการนิเทศ 3) ขั้นร่วมปฏิบัติการนิเทศ 4) ขั้นเปิดรับการชี้แนะการทำวิจัยในชั้นเรียน 5) ขั้นสะท้อนผลการนิเทศร่วมกัน และ 6) ขั้นเผยแพร่สู่สาธารณะและสร้างเครือข่าย ซึ่งโดยรวมรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า 1) ครูมีความสามารถในการปฏิบัติตามกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน โดยรวมมีความสามารถอยู่ในระดับดี และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 2) ครูมีความสามารถในการเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียนโดยรวมอยู่ในระดับดีและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) สรุปข้อมูลสะท้อนผลการส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยรวม พบว่า ครูทุกคนมีส่วนร่วมและมีผลงานทางวิชาการ คือ รายงานการวิจัยในชั้นเรียนฉบับย่อหรือฉบับเต็มอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มีจุดที่ควรพัฒนาคือ โรงเรียนควรจัดอบรมปฏิบัติการให้ความรู้ความเข้าใจการทำวิจัยในชั้นเรียนและฝึกปฏิบัติการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องจนเป็นแบบอย่างได้ และผู้บริหารควรให้ความสำคัญวิจัยในชั้นเรียนและถือเป็นนโยบายหลักของสถานศึกษา และส่งเสริมให้ผู้วิจัยจัดทำและเผยแพร่งานวิจัยในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วารสารของโรงเรียน
4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศโดยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ และครูโรงเรียนเทศบาล ๑ (วัดพรหมวิหาร) โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^