LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน

usericon

ชื่อเรื่อง    : การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะ
        การคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก)
ผู้วิจัย    :    กาญจนา จันทมัตตุการ
ปีการศึกษา    :    2564

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) โดยดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพปัจจุบันปัญหาการพัฒนาการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) เป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) ระยะที่ 3 การวิจัย (Research : R2) เป็นการทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) และระยะที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) เป็นการประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครสงขลา จำนวน 5 คน ครูผู้สอนในสังกัดเทศบาลนครสงขลา จำนวน 50 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) จำนวน 44 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเคร็จซี่และมอร์แกน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 70 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบวิเคราะห์ข้อมูลการสนทนากลุ่มย่อย แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบบันทึกการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการคิดวิเคราะห์ แบบประเมินความพึงพอใจ รวม 9 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) พบว่า สภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โดยรวมมีปัญหาการปฏิบัติในระดับปานกลาง จากการแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสังกัดเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา มีการสัมภาษณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) และจากการสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 5 โรงเรียน เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องและยกร่างรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม
2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) ประกอบด้วย องค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ และ 4) ขั้นตอนการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน แบบ “Organizing PLWECE Model” ประกอบด้วย ขั้นตอนหลัก 6 ขั้นตอน และขั้นตอนย่อย 25 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 : การวางแผนการพัฒนา (Planning to Development Stages : P) ขั้นที่ 2 : การออกแบบการจัดการเรียนรู้ (Learning Design Stages : L) ขั้นที่ 3 : การนำแผนการจัดการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ (Work to Active Learning Stages : W) ขั้นที่ 4 : การเสริมสร้างกำลังใจ ความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Encourage Collaboration and Share Stages : E) ขั้นที่ 5 : สร้างโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Create Continuous Learning Stages : C) และขั้นที่ 6 : การประเมินผล พัฒนา และการรายงาน (Evaluation Development and Report Stages : E)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) พบว่า จากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของครูผู้สอน จากการทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) แบบ “Organizing PLWECE Model” โดยรวมมีระดับพฤติกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับความสนใจ กระตือรือร้นและการมีส่วนร่วมในระดับมาก รวมถึงการเตรียมการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนมีความถูกต้อง/ความเหมาะสมในระดับมาก และผลการสังเกตการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนมีความถูกต้อง/ความเหมาะสมในระดับมาก
4. ผลการประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน โรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนนครนอก) พบว่า ทักษะการคิด วิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน แบบ “Organizing PLWECE Model” (ออแกไนซ์ซิ่ง พีแอลวีซี โมเดล) มีทักษะการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับดี จึงทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โดยรวมมีความพึงพอใจเกี่ยวกับความเหมาะสม/การนำไปใช้ได้จริงในระดับมาก และมีความคิดเห็นการปรับปรุง แก้ไข รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน แบบ “Organizing PLWECE Model” ควรมีการปรับปรุงในแต่ละขั้นตอนเพียงเล็กน้อย
aex99 07 มี.ค. 2566 เวลา 01:11 น. 0 246
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^