LASTEST NEWS

21 ก.ย. 2566"แท็บเล็ต" ยุคยิ่งลักษณ์ถึงไอเดีย "เพิ่มพูน" ควรไปต่อหรือพอได้แล้ว 20 ก.ย. 2566‘เพิ่มพูน’มอบนโยบาย ผอ.สพท. ฝากการบ้านผู้บริหารเดินหน้า‘เรียนดี มีความสุข’ 20 ก.ย. 2566“รมว.ศธ.” แนะผอ.สพท.ใช้หลักอริยสัจสี่บริหารการศึกษา 19 ก.ย. 2566สพฐ.รับลูกลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา แจกแท็บเล็ต 19 ก.ย. 2566ผู้ปกครองไม่เห็นด้วยแจกแท็บเล็ต แนะนำงบจ้างครูเพิ่ม เน้นบุคลากรยังขาดแคลน 19 ก.ย. 2566สอศ.เปิดสอบพนักงานราชการครู 48 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 18 ก.ย. 2566รอเรียกบรรจุ เฮ! ก.ค.ศ.แจ้งจัดสรรอัตราว่างฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย 12,514 อัตรา 18 ก.ย. 2566“เสมา2” แจงคุมสพฐ.ลั่นเจอทุจริตถูกเชือดโทษวินัยแน่ 18 ก.ย. 2566สพฐ.พร้อมหนุนนโยบาย”เพิ่มพูน” เดินหน้าลดภาระครู 18 ก.ย. 2566ด่วน !! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ครั้งที่ 1/2566 ทางอินเทอร์เน็ต

การพัฒนาทักษะอาชีพแต่งหน้าทำผม

usericon

ผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เรื่องการพัฒนาทักษะอาชีพแต่งหน้าทำผม ได้เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดที่ว่าด้านการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน เด็กควรจะต้องมีความรู้ทั้งทฤษฎีและทักษะปฏิบัติ ซึ่งในศาสตร์ด้านของศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์นั้นแน่นอนว่าต้องการการฝึกทักษะอยู่แล้ว แต่เราในฐานะผู้สอนนั้นจะมีวิธีการอย่างไรให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ด้านศิลปการแสดงจากการเรียนรายวิชา ศ ๓๐๒๐๖ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
ผู้สอนจึงมีความคิดที่จะเพิ่มเติมในส่วนของการฝึกทักษะปฏิบัติให้ผู้เรียนเพิ่มเติม ที่นอกเหนือจากความรู้ด้านศิลปการแสดง คือการแต่งหน้าและทำผม ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือ ๑. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านการแต่งหน้าทำผมสำหรับการแสดง ๒. นักเรียนมีทักษะปฏิบัติด้านการแต่งหน้าทำผมเพื่อการแสดง ๓. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชาศิลปศึกษา ศ ๓๐๒๐๖ ในการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการแต่งหน้าทำผมนั้นผู้เรียนสามารถที่จะนำไปต่อยอดได้และสามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เรียนในอนาคตอย่างแน่นอน ในการจัดการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจะให้นักเรียนได้เรียนรู้หลักการ ทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวกับการ แต่งหน้าและการทำผมในรูปแบบต่างๆ แล้วจะสอนเรื่องของทักษะปฏิบัติในด้านนั้นๆ การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้โดยช่างแต่งหน้าทำผมมืออาชีพ เมื่อสอนเสร็จแล้วผู้เรียนจะต้องมีการฝึกปฏิบัติ โดยมีทั้งการแต่งหน้าตนเองเพื่อเสริมบุคลิกภาพ จับคู่แต่งให้เพื่อน การฝึกสร้างรอยบาดแผลบนร่างกาย ใบหน้า การแต่งหน้าคนแก่ การฝึกการเกล้าผม ออกแบบทรงผมในงานต่างๆ ซึ่งผู้เรียนสามารถนำทักษะปฏิบัติต่างๆที่ได้เรียน มาบูรณาการปรับใช้ในชีวิตประจำวัน การเป็นทีมแต่งหน้าให้นักแสดงในงานต่างๆของโรงเรียน การจัดการเรียนการสอนเช่นนี้จึงเป็นการเรียนรู้ที่ไม่ใช่มีแค่ความรู้ แต่เป็นการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั่นเอง ซึ่งผลจากการเรียนการสอนนักเรียนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจคิดเป็น ๑๐๐ เปอเซ็นต์ นักเรียนทุกคนสามารถแต่งหน้าทำผมเพื่อการแสดงได้ คิดเป็น ๑๐๐ เปอเซ็นต์ และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนรายวิชาศิลปศึกษา ศ ๓๐๒๐๖ คิดเป็นร้อยละ ๙๕ และนักเรียนมีข้อแสดงความคิดเห็นว่าสามารถนำไปใช้แต่งหน้าเพื่อเสริมบุคลิกภาพความมั่นใจให้กับตนเองได้ และจะฝึกฝนบ่อยๆจะได้นำไปประกอบอาชีพได้

๓. ความสำคัญของผลงาน หรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
    (ระบุเหตุผล ความจำเป็น ปัญหาหรือความต้องการ แนวคิด หลักการสำคัญในการออกแบบผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ)
สังคมโลกในศตวรรษที่ 21 มีความแตกต่างจากในอดีตมาก โลกมีการพัฒนามากขึ้น ทั้งในด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร สังคม การปกครอง เพราะฉะนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ทักษะ ความรู้ นำมาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและนำความรู้ที่ได้มาต่อยอด เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้ในอนาคต การพัฒนาทักษะความรู้จำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ให้จบมาเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีจริยธรรมในการดำรงชีวิต บ่มเพาะความคิด การเรียนรู้ที่ปลูกฝังให้มีจิตสาธารณะ เป็นคนที่พึ่งพาตัวเองได้และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข มีความสมดุลในชีวิตคือมีทั้งความรู้และศีลธรรม
ในด้านการสอนควรเน้นการลงมือทำปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าที่จะต้องไปจดจำเนื้อหาในห้อง เป็นการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนร่วมกันระหว่างเพื่อนกับครูในชั้น เป็นการเรียนรู้ที่รวดเร็ว หากสงสัยตรงไหนก็สามารถถามได้เลย เพราะในโลกทุกวันนี้สังคมเปิดรับ เปิดกว้างมากขึ้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นการเรียนรู้ที่ไม่ใช่มีแค่ความรู้ แต่เป็นการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั่นเอง
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. ได้กล่าวถึงทักษะที่สำคัญในการใช้ชีวิตและทำงานในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ เป็นความสามารถในการนำเอากระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพอย่างซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม การบริหารเวลาอย่างชาญลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานปรับตัวอยู่ในภาวการณ์แข่งขันสูงในโลกปัจจุบันได้ทุกสถานการณ์อย่างมีคุณธรรมนำชีวิต
ในรายวิชาเพิ่มเติม ศิลปศึกษา ๖ (ศ๓๐๒๐๖) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับศิลปะเพื่อการแสดง รวมถึงทักษะในด้านการแสดงโดยเฉพาะการแต่งหน้า การจัดแต่งทรงผม และการทำอุปกรณ์ประกอบการแสดง เพื่อให้นักเรียนสามารถที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือรวมถึงการประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืนได้ในอนาคต
    
๔. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
    (ระบุจุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงานอย่างชัดเจน สอดคล้องกับปัญหาความต้องการจำเป็น)
๔.๑ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านการแต่งหน้าทำผมสำหรับการแสดง
๔.๒ นักเรียนมีทักษะปฏิบัติด้านการแต่งหน้าทำผมเพื่อการแสดง
๔.๓ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรายวิชาศิลปศึกษา ศ ๓๐๒๐๖

๕. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน
    (ระบุกระบวนการ หรือวิธีการในการผลิต การนำไปใช้ และการพัฒนาผลงาน โดยมีขั้นตอนต่อเนื่องสัมพันธ์กันและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์)
๕.๑ จัดทำโครงการสอนรายวิชาศิลปศึกษา
๕.๒ จัดทำแผนการสอนรายวิชาศิลปศึกษา
๕.๓ ครูสอนทักษะปฏิบัติด้านอาชีพแต่งหน้าทำผม โดยหลักทฤษฎีและทักษะปฏิบัติ
๕.๔ นักเรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติ
๕.๕ นักเรียนออกแบบและปรับประยุกต์ใช้ด้วยตนเอง


๖. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
    (ระบุผลสำเร็จของการดำเนินงานที่เกิดจากการนำไปใช้ คุณค่าของผลงาน/นวัตกรรม ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียน และประโยชน์ที่ได้รับจากผลงาน/นวัตกรรม)
๖.๑ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจด้านการแต่งหน้าทำผมสำหรับการแสดงคิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซนต์
๖.๒ นักเรียนมีทักษะปฏิบัติด้านการแต่งหน้าทำผมเพื่อการแสดง คิดเป็น ๑๐๐ เปอร์เซนต์
๖.๓ นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับดีมากต่อการเรียนรายวิชาศิลปศึกษา ศ ๓๐๒๐๖ คิดเป็นร้อยละ ๙๕
๖.๔ นักเรียนสามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างอาชีพและเกิดรายได้อย่างมั่นคง

๗. ปัจจัยความสำเร็จ
    (ระบุบุคคล / หน่วยงาน / องค์กร หรือ วิธีการที่ช่วยให้งานประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพของผลงาน/นวัตกรรม)
๗.๑ ผู้บริหารโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี
๗.๒ คณะครูและบุคลากรโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี
๗.๓ ผู้ปกครองนักเรียน

๘. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
    (ระบุข้อสรุป ข้อสังเกต /ข้อเสนอแนะ และข้อควรระวัง ที่เป็นแนวทางในการนำผลงานไปใช้/ พัฒนาต่อ หรือดำเนินการให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นต่อไป)
๘.๑ นักเรียนให้ความสนใจในการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ได้เรียนรู้ฝึกปฏิบัติจริง
๘.๒ ในการนำผลงานนี้ไปปรับประยุกต์ใช้ ครูผู้สอนจำเป็นจะต้องมีความรู้ความสามารถในด้านการแต่งหน้าทำผมได้หลากหลายรูปแบบ เพราะจะต้องสามารถทำให้นักเรียนดูได้และสามารถสอนเทคนิคต่างๆเพิ่มเติมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๘.๓ ในด้านของการนำไปพัฒนาต่อครูผู้สอนอาจจะเพิ่มเติมในเรื่องของการฝึกทำอุปกรณ์หรือการออกแบบชุดการแสดงที่หลากหลาย
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^ <