LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพม.ขอนแก่น รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 901 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.กำแพงเพชร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อผลงาน     รายงานการประเมินโครงพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านคลองหวะ(ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง)
    สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2
ผู้รายงาน    นายอารีย์ หัสโส๊ะ
ตำแหน่ง        รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนบ้านคลองหวะ(ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2
ปีการศึกษา         2564

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

     การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียน
บ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้องของความต้องการจำเป็น วัตถุประสงค์โครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการเกี่ยวกับความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ และทรัพยากรต่าง ๆ ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพของผลผลิตผู้เข้าร่วมโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model กลุ่มเป้าหมายของการประเมินโครงการครั้งนี้คือประชากรทั้งหมด ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 18 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 123 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 123 คน ได้มาโดยการเลือกแบบแบบเจาะจง ( Purposive Selection )
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 10 ฉบับ ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน จากนั้นนำไปหาค่าอำนาจจำแนกและค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นทั้งฉบับก่อนนำไปใช้ โดยค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบประเมินด้านบริบท เท่ากับ 0.97 ด้านปัจจัยเบื้องต้นเท่ากับ 0.95 ด้านกระบวนการฉบับที่ 1 เท่ากับ 0.90 ฉบับที่ 2 เท่ากับ 0.97 ฉบับที่ 3 เท่ากับ 0.99 ฉบับที่ 4 เท่ากับ 0.94 ฉบับที่ 5 เท่ากับ 0.99 แบบประเมินด้านผลผลิตมีความเชื่อมั่น 0.97 แบบประเมินความพึงพอใจทั้งฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 มีความเชื่อมั่น 0.98 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดย
ผู้ประเมินเก็บรวบรวมเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) เปรียบเทียบกับเกณฑ์ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้
     ผลการประเมิน
     ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 ปีการศึกษา 2564 โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
     1. ด้านบริบท (Context) ของโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด โดยมีความสอดคล้องกับความต้องการจำเป็น วัตถุประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดและโรงเรียน รวมทั้งมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
     2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) โดยรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยประเด็นที่มีผลการประเมินสูงสุด คือ ด้านภาคีเครือข่าย รองลงมา คือ ด้านบุคลากร และด้านการบริหารจัดการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านงบประมาณ มีความเหมาะสมอยู่ใน ระดับมาก และด้านวัสดุอุปกรณ์ และสื่อการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
     3. ด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยกิจกรรมที่มีระดับการปฏิบัติสูงสุด คือ กิจกรรมการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ กิจกรรมการคัดกรองนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมการป้องกันและแก้ไข มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนา มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ กิจกรรมที่มีระดับการปฏิบัติต่ำสุดคือกิจกรรมการส่งต่อนักเรียน มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
4. ด้านผลผลิต (Product) ของโครงการโดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกด้าน โดยด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านการป้องกันและแก้ไขด้านการเรียน รองลงมา คือ ด้านเสริมสร้างทักษะชีวิตและการคุ้มครองนักเรียน ด้านความสามารถในการเรียนรู้ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามลำดับ
สำหรับความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านคลองหวะ (ทวีรัตน์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดีขึ้น ผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ การเยี่ยมบ้านนักเรียน การติดต่อผู้ปกครองมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและนักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ นักเรียนทุกคนได้การดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึง
ข้อเสนอแนะ
     ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรกำหนดหลักการและเหตุผลของโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานต้นสังกัด
2. ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบควรมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
3. ควรให้การสนับสนุนจัดงบประมาณจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักเรียนตามความเหมาะสม โดยการขอความร่วมมือกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนกิจกรรม
4. การจัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน ควรสำรวจความต้องการของนักเรียน สร้างบรรยากาศที่ดี และควรมีการประชาสัมพันธ์และการสื่อสารที่รวดเร็วระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง
นักเรียน
5. การจัดกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้เรียน ควรจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับ
ปัญหาของนักเรียน ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียนตาม
ขอบข่ายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และควรชี้แจงและทำความเข้าใจกับผู้ปกครองนักเรียนอย่างเป็น
ขั้นตอนถึงแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาผู้เรียน
6. ควรนิเทศ ติดตาม และประเมินผลตามกระบวนการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพื่อได้สารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะในการประเมินโครงการครั้งต่อไป
1. ควรศึกษากลยุทธ์การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
2. ควรศึกษาการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
3. ควรศึกษาแนวทางการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของนักเรียนโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^