LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดสอบพนักงานราชการ 350 อัตรา วุฒิปริญญาตรี อัตราเงินเดือน 20,540 - 22,750 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. - 8 พ.ค. 2567 24 เม.ย. 2567สพป.เลย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เลย เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2 24 เม.ย. 2567สพม.น่าน ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.น่าน 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 4

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้

usericon

ชื่อเรื่อง :     รายงานการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
        (Active Learning) โรงเรียนบ้านโคกสิเหรง ปีการศึกษา 2565
ผู้รายงาน :     นายศราวุธ สุวรรณวรบุญ
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านโคกสิเหรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
ปีที่รายงาน : 2566

    การประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนบ้านโคกสิเหรง ปีการศึกษา 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 164 คน ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกสิเหรง ปีการศึกษา 2565 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามสถานะของกลุ่มตัวอย่างโดยกำหนดxxxส่วนกลุ่มตัวอย่างตามสถานะครบทั้ง 4 ประเภท คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน จากนั้นสุ่มอย่างเป็นระบบในxxxส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน สำหรับxxxส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยใช้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลสำหรับการประเมินโครงการในครั้งนี้ประกอบไปด้วยแบบสอบถามฉบับที่ 1 - 6 และแบบตรวจสอบรายการปริมาณแหล่งเรียนรู้ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลผ่านกระบวนการหาคุณภาพก่อนนำไปใช้ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ผลการประเมินโครงการด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตโดยการหาค่าเฉลี่ย ("X" ̅) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
    ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โรงเรียนบ้านโคกสิเหรง ปีการศึกษา 2565 สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินบริบท (Context Evaluation) ของโครงการซึ่งเป็นการประเมินความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ของโครงการกับการแก้ปัญหา ความต้องการและนโยบายระดับต่าง ๆ ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยภาพรวมมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.83, S.D.= 0.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อคำถามมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยของระดับความสอดคล้องมากที่สุดคือข้อที่ 4 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา ปี พ.ศ. 2565 ("X" ̅ = 5.00, S.D.= 0.00) รองลงมาคือข้อที่ 2 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี พ.ศ. 2565 และข้อที่ 3 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ปี พ.ศ. 2565 ("X" ̅ = 4.93, S.D.= 0.26) และข้อที่น้อยที่สุดคือข้อ 7 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และข้อ 8 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแนวทางในการแก้ไขปัญหาตามบริบทของสถานศึกษา ("X" ̅ = 4.67, S.D.= 0.49)    
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการซึ่งเป็นการประเมินความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ รวมถึงความพร้อมด้านการบริหารจัดการตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยภาพรวมมีพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.66, S.D.= 0.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยของความพร้อมมากที่สุดคือความพร้อมด้านการบริหารจัดการอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.90, S.D.= 0.42) รองลงมาคือความพร้อมด้านบุคลากร ("X" ̅ = 4.71, S.D.= 0.46) และด้านที่น้อยที่สุดคือความพร้อมด้านวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่อยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.44, S.D.= 0.50)
3. ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการซึ่งเป็นการประเมินความเหมาะสมของกระบวนการในการดำเนินโครงการ 4 ขั้นตอนประกอบด้วย การวางแผน (Plan) การลงมือปฏิบัติ (Do) การตรวจสอบ (Check) และการปรับปรุง (Act) ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.63, S.D.= 0.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกขั้นตอน ขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมของกระบวนการในการดำเนินโครงการมากที่สุดคือขั้นตอนการวางแผน (Plan) อยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.88, S.D.= 0.33) รองลงมาคือขั้นตอนการตรวจสอบ (Check) ("X" ̅ = 4.75, S.D.= 0.44) และขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมของกระบวนการในการดำเนินโครงการน้อยที่สุดคือการปรับปรุง (Act) อยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.57, S.D.= 0.50)
4. ผละการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) แบ่งเป็น 2 รายการดังนี้
4.1 ปริมาณแหล่งเรียนรู้
        ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต (Product Evaluation) ในส่วนของปริมาณแหล่งเรียนรู้ที่กำหนดเป็นเป้าหมายในการดำเนินโครงการจำนวน 16 แหล่งเรียนรู้ พบว่า แหล่งเรียนรู้ได้รับการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทั้งหมด 16 แหล่งเรียนรู้ เป็นไปตามเป้าเหมายที่กำหนดไว้ในโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100
    4.2 ความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน โดยจำแนกผลการประเมินรายสถานะดังนี้
            4.2.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อโครงการโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.60, S.D.= 0.49) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุดคือข้อ 13 แหล่งเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสร้างการรับรู้ทางกายภาพที่ส่งผลต่อเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.93, S.D.= 0.27) รองลงมาคือข้อ 2 แหล่งเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสามารถบูรณาการการจัดการเรียนรู้ได้หลากหลายสาระวิชามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.86, S.D.= 0.36) และน้อยที่สุดคือข้อ 14 แหล่งเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นส่งเสริมบรรยากาศการมีส่วนร่วมในการอภิปราย มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.36, S.D.= 0.50)
            4.2.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.58, S.D.= 0.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุดคือข้อ 1 ท่านมีความพึงพอใจแหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 5.00, S.D.= 0.00) รองลงมาคือข้อ 2 แหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นมีความสวยงามเหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้ของนักเรียนและข้อ 5 แหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนในการค้นคว้าหาความรู้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.80, S.D.= 0.45) และน้อยที่สุดคือข้อ 6 แหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นส่งผลดีต่อการเรียนรู้ของนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.20, S.D.= 0.45) และข้อ 8 แหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นมีผลทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในบทเรียนเป็นอย่างดีและมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.20, S.D.= 0.84)
            4.2.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.51, S.D.= 0.64) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุดคือข้อ 1 ท่านมีความพึงพอใจแหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.83, S.D.= 0.38) รองลงมาคือข้อ 2 แหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นมีความสวยงามเหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้ของนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.80, S.D.= 0.40) และน้อยที่สุดคือข้อ 3 แหล่งเรียนรู้ที่โรงเรียนพัฒนาขึ้นสามารถเร้าความสนใจให้นักเรียนของท่านอยากมาเรียนที่โรงเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.23, S.D.= 0.83)
            4.2.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.55, S.D.= 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุดคือข้อ 13 นักเรียนมีความพึงพอใจกับการได้เรียนรู้และปฏิบัติจริงในการดำเนินกิจกรรมที่ห้องคอมพิวเตอร์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.92, S.D.= 0.27) รองลงมาคือข้อ 3 นักเรียนรู้สึกพึงพอใจกับบรรยากาศห้องเรียนของนักเรียนได้รับการตกแต่งจากป้ายนิเทศ แผนภาพความรู้หรือการมีมุมความรู้ในห้องเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.78, S.D.= 0.42) และน้อยที่สุดคือข้อ 8 นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นจากป้ายนิเทศ แผนภาพความรู้ต่าง ๆ หรือมุมความรู้ที่อยู่ภายในห้องเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 4.25, S.D.= 0.78)

ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    ผลการประเมินโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งถือว่าโครงการประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพดังนั้นโรงเรียนต่าง ๆ สามารถนำโครงการและรูปแบบการประเมินไปปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาตามความเหมาะกับบริบทแต่ละโรงเรียน
    การดำเนินการในการประเมินโครงการในแต่ละด้านควรมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบและกำหนดขอบข่ายหน้าที่ในการดำเนินงานอย่างชัดเจนเพื่อให้การประเมินโครงการในแต่ละด้านมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนและการดำเนินงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
    การดำเนินโครงการและการประเมินโครงการจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยสองส่วนที่สำคัญคือบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจและมีความพร้อมในการดำเนินโครงการ และปัจจัยที่สำคัญอีกประการก็คืองบประมาณที่เพียงพอและบุคลากรฝ่ายบริหารงานงบประมาณมีความรู้ความสามารถด้านการเงินและงบประมาณและมีความพร้อมในการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการเพื่อให้การดำเนินงานขับเคลื่อนไปได้อย่างรวดเร็วและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ
    ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
    ควรมีการนำรูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPP Model ไปใช้ในการประเมินกับโครงการอื่น ๆ ในแผนปฏิบัติการของโรงเรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเชิงลึกในการตัดสินใจและใช้เป็นแนวทางในการดำเนินโครงการให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลกับโรงเรียน ใช้ทรัพยากรที่ได้รับจัดสรรจากรัฐในการดำเนินโครงการอย่างคุ้มค่าและโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    ควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นในระดับเดียวกัน อาทิ โรงเรียนข้างเคียงหรือโรงเรียนทั่วไปทั้งในสังกัดเดียวกันหรือต่างสังกัด หน่วยงานต้นสังกัด รวมถึงสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา อาทิ อาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ในการร่วมกันจัดทำโครงการและประเมินโครงการเพื่อให้เกิดความหลากหลายทางความคิดและมุมมองในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในแต่ละมิติที่มีความครอบคลุม ต่อเนื่องและยั่งยืน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^