LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.หนองคาย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.หนองคาย เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุบลราชธานี เขต 4 24 เม.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยภูมิ เขต 3 24 เม.ย. 2567สพฐ. ออกมาตรการสกัดปัญหาจัดอาหารกลางวันเด็กปี 67 24 เม.ย. 2567สพม.ราชบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.เพชรบุรี 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ

usericon

เรื่อง        การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ปีการศึกษา 2565
ผู้วิจัย        ว่าที่ร้อยตรีหญิงศศินา ฮองโยง ครู คศ.1 โรงเรียนบ้านซิวาเดอ

ความสำคัญของปัญหาการวิจัย
    
    ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 มาตรา 22 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญมากที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ มาตรา 6 ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่ายกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
    ภาษาไทยเป็นภาษาของชาติและเป็นเครื่องสำคัญในการแสวงหาความรู้ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถทางการเรียนรู้โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ จึงได้ดำเนินการประเมินทักษะภาษาไทยการใช้ภาษาไทยพบว่า นักเรียนยังขาดทักษะทางภาษาไทย โดยเฉพาะการเขียนสะกดคำ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
    จากปัญหาดังกล่าว จึงได้พัฒนาการใช้ภาษาไทย ด้านการสะกดคำ ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เพื่อให้ผู้เรียนได้เสริมสร้างและพัฒนาตนเองตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

    1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการแก้ปัญหาด้านการอ่านและการเขียนของผู้เรียน
    2. เพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีนิสัยรักการอ่าน รักการค้นคว้า เกิดการใฝ่รู้ และนำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
    3. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของกลุ่มสาระ

สมมุติฐานของการวิจัย

    ในการพัฒนาทักษะการอ่าน เขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ในรายวิชาภาษาไทยนักเรียนมีการพัฒนาการทักษะการอ่าน การเขียน สูงขึ้นหลังจากใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    1. นักเรียนมีการพัฒนาการอ่านและการเขียนสูงขึ้นหลังจากการใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ
    2. นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีนิสัยรักการอ่าน รักการค้นคว้า เกิดการใฝ่รู้ และนำไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
    3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระให้สูงขึ้น

วิธีการดำเนินการวิจัย

    1. รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง ใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 คน โดยมีการทดสอบก่อนเรียน หลังเรียนจากการใช้แบบฝึกทักษะ
    2. ประชากร คือ นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านซิวาเดอ จำนวน 18 คน

    เครื่องมือวิจัย

    1. แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) จำนวน 20 ข้อ โดยเป็นข้อสอบแบบอัตนัยทั้งหมด
    2. นักเรียนศึกษาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ
    3. แบบทดสอบหลังเรียน (Post-test) จำนวน 20 ข้อ โดยเป็นข้อสอบอัตนัยทั้งหมด โดยเป็นข้อสอบชุดเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน แต่หากสลับข้อไปมา

    การเก็บรวบรวมข้อมูล

    1. ครูทดสอบนักเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนและทำการบันทึกผลคะแนน
    2. นักเรียนฝึกทำแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำในแต่ละแบบฝึกที่กำหนด
    3. ทำการทดสอบอีกครั้ง โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน และบันทึกผลคะแนน

    การวิเคราะห์ข้อมูล

    นำผลคะแนนแบบฝึกหัดก่อนและหลังเรียน ของผู้เรียนมาใช้วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน และวิเคราะห์ผลต่างเชิงสถิติของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ โดยการเขียนตามคำบอก โดยใช้ค่าสถิติ t-test

ผลการวิจัย
    จากการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะ ไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ ของกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 คน โดยใช้ผลลัพธ์ดังตาราง

ตาราง ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ ของกลุ่มนักเรียนตัวอย่างชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 คน

คะแนนทดสอบ    N     Mean     S.D.     t     df    sig
ก่อนการเรียน    18    4.83     1.82    10.67 17 0.00**
    
หลังการเรียน    18    12.83     2.50            

*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

    จากตารางพบว่า
        1. ก่อนการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ กลุ่มนักเรียนตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 คน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 1.82
        2. หลังการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของกลุ่มนักเรียนตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 18 คน มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเท่ากับ 12.83
        3. ค่า Tคำนวณ เท่ากับ 10.67 ซึ่งมากว่า Tตาราง แสดงว่าหลังก่อนการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของกลุ่มนักเรียนตัวอย่างชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 18 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงว่าการพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ช่วยให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยสูงขึ้นได้จริง

การสะท้อนผลการวิจัย
    จากการศึกษาและวิเคราะห์คะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนเรียนนั้นแสดงให้เห็นว่า นักเรียนยังไม่มีพื้นฐานความรู้ในเรื่องคำศัพท์เกี่ยวกับการเขียนสะกดคำหรือการใช้ในชีวิตประจำวัน หรือมีความรู้พื้นฐานมาบ้างแต่ไม่สามารถจดจำหรือเขียนคำศัพท์เหล่านั้นให้ถูกต้อง แต่หลังจากที่นักเรียนได้ใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำทำให้นักเรียนมีความรู้ ความจำเกี่ยวกับคำศัพท์ สามารถเขียนคำ เขียนสะกดคำได้อย่างถูกต้อง และสามารถทำแบบทดสอบหลังเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นถึงแม้ว่าจะมีนักเรียนบางคนที่มีค่าคะแนนจากการทำแบบฝึกหัดไม่ค่อยดีเท่าที่ควรนั้น ก็อาจเป็นเพราะนักเรียนขาดความต่อเนื่องในการทำความเข้าใจ และในบางครั้งก็มีกิจกรรมต่าง ๆ ของทางโรงเรียนที่ดึงดูดความสนใจของนักเรียน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการพัฒนานักเรียน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^