LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัย

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัย ของโรงเรียน บ้านปากบางนาคาราช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2
ผู้รายงาน    นางสาวอาอีฉ๊ะ มะแซ
ตำแหน่ง    ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนบ้านปากบางนาคราช สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2564

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต ประกอบด้วย ความสำเร็จของโครงการและกิจกรรม พฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 50 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2564 จำนวน 50 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 7 ฉบับ โดยเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) มากกว่า .05 ทุกฉบับ และค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟา โดยมีค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไปทุกฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฯ โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านความต้องการจำเป็น ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ด้านความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน ด้านความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวม ทั้ง 2 กลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก (μ= 4.24, σ = 0.35) และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกรายการ
    2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฯ โดยประเมิน 5 ด้าน คือ ด้านความพร้อม ด้านบุคลากร ด้านความเพียงพอของงบประมาณ ด้านวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านหน่วยงานที่สนับสนุน โดยภาพรวม ทั้ง 2 กลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มาก (μ= 4.25, σ = 0.45) และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกรายการ
    3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฯ โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผนการดำเนินงาน (P) ด้านการดำเนินการจัดกิจกรรม (D) ด้านการติดตามประเมินผล (C) และด้านการนำผลการประเมินไปปรับปรุง/พัฒนา (A) โดยภาพรวมทั้ง 2 กลุ่มที่ประเมิน พบว่า มีระดับการปฏิบัติ/คุณภาพ อยู่ในระดับ มาก (μ= 4.29, σ = 0.27) และผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดทุกรายการ
    4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่
4.1    สรุปผลสำเร็จของโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามความคิดเห็นของนักเรียนครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับ มาก ( = 4.23,  = 0.25) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.2 สรุปผลสำเร็จของกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม พบว่ามีผลการประเมิน อยู่ในระดับ มาก (= 4.31 ,  = 0.37) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.3 สรุปคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียนจาการดำเนินงานโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีผลการประเมินคุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักเรียน จากการดำเนินงานโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัย โดยภาพรวมมีระดับการปฏิบัติ/คุณภาพ อยู่ในระดับ มาก ( =4.31 ,  = 0.23) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
4.4 สรุปความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านปากบางนาคราช ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานฯ และผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวม พบว่า มีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนน่าอยู่ นักเรียนปลอดภัย อยู่ในระดับ มาก ( = 4.37,  = 0.40) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด




ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    1. จากผลการประเมินประเด็นบริบท พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก ดังนั้นผู้บริหารจึงควรกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้ละเอียดและชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติกิจกรรมได้จริง เพราะบริบทของโครงการถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการการดำเนินโครงการ การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ของโครงการจะเป็นเข็มทิศชี้นำการปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จได้ดี จึงควรมีการพิจารณาถึงความต้องการจำเป็นของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพปัญหา ตามบริบทของโรงเรียนและชุมชน อันเป็นการตอบสนองความต้องการของนักเรียนและชุมชนอย่างแท้จริง
    2. จากผลการประเมินในประเด็นปัจจัยนำเข้าโครงการ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก ดังนั้น ผู้บริหารจึงควรระดมทรัพยากรและงบประมาณจากภาคส่วนต่าง ๆ นอกเหนือจากเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมให้เพียงพอและเหมาะสมกับการทำกิจกรรม และควรสร้างขวัญกำลังใจและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้พร้อมก่อนการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
    3. จากผลการประเมินในประเด็นกระบวนการ พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก ดังนั้นผู้บริหารควรมีการแต่งตั้งกรรมการรับผิดชอบโครงการและกิจกรรมตามความรู้ความสามารถและความถนัด เมื่อดำเนินกิจกรรมแล้วควรมีการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินกิจกรรมเป็นระยะในรูปแบบต่าง ๆ ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ มีการขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกหรือพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือ และติดตามผลในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมมาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นและหลากหลายเพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ยิ่งขึ้น
    4. จากผลการประเมินในประเด็นผลผลิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากนักเรียน ผู้ปกครอง และครู มีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับ มาก จึงควรจัดกิจกรรมตามโครงการอย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะกับความต้องการและสภาพปัญหาของนักเรียน เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และครู และเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
    ข้อเสนอแนะในการวิจัย หรือประเมินครั้งต่อไป
    1.    ควรศึกษาสภาพปัญหา หรือปัจจัยจำเป็น ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้าน ต่าง ๆ เพื่อจัดทำโครงการให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
    2.    ควรส่งเสริมให้มีการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความพร้อมให้กับโรงเรียน ผู้เรียน และชุมชน
    3.    ควรดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐ และเอกชน ชุมชน ห้างร้านต่าง ๆ เพื่อการสนับสนุนโรงเรียนในด้านทรัพยากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์ แก่สาธารณชนได้รับรู้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^