LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพ

usericon

ชื่อเรื่อง    : การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพ
         ของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ผู้วิจัย     : ภัสร์จิราภา กองเงิน
ปีการศึกษา    : 2564

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาของการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และ 4) เพื่อศึกษาผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ตามลักษณะการเก็บข้อมูล ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาของการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (R1) กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 7 คน ผู้ดูแลเด็ก จำนวน 3 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 17 คน ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (D1) กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน และครูผู้สอน จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 18 คน ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (R2) กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 (3-4 ปี) จำนวน 40 คน เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 (4-5 ปี) จำนวน 26 คน และเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี) จำนวน 26 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 92 คน และระยะที่ 4 การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (D2) กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน และครูผู้สอนจำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันปัญหา 2) แบบสัมภาษณ์ ฉบับที่ 2 แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured Interview) 3) แบบประเมิน ฉบับที่ 3 แบบประเมินความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ (ร่าง) รูปแบบการบริหารจัดการ 4) แบบประเมิน ฉบับที่ 4 แบบประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย อายุ 3-6 ปี และ 5) แบบประเมิน ฉบับที่ 5 แบบประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาของการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า สภาพปัจจุบันปัญหาการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อ 4 การจัดสภาพแวดล้อม สื่อและแหล่งเรียนรู้ มีปัญหามากที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75 รองลงมาข้อ 3 การวัดและประเมินผลพัฒนาการเด็ก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61 ในขณะที่ข้อ 5 การนิเทศและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีปัญหาน้อยที่สุดเฉลี่ยเท่ากับ 3.80 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.70 จากการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured Interview) พบว่า การพัฒนาและการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีการพัฒนา ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและด้านสติปัญญา เพราะมีความสำคัญต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เนื่องจากเด็กปฐมวัยในยุคปัจจุบันอยู่ในสังคมที่มีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การพัฒนาเด็กในแต่ละด้านจะต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน ทุกด้าน และบูรณาการให้เหมาะสมกับช่วงอายุหรือวัยของเด็ก จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีกิจกรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ การพัฒนาโรงเรียนควรสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันกับวิสัยทัศน์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ พันธกิจ และเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้ ครูทุกคนใช้ระบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มุ่งเน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดหางบประมาณ หาสื่อสำหรับการเรียนการสอนให้เพียงพอ จัดหาแหล่งงบประมาณมาทำการปรับปรุงพัฒนาอาคารเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริมให้บุคลากรได้เรียนรู้ อบรม แสวงหาความรู้มาพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ จัดหาครูให้เพียงพอแก่เด็ก รวมถึงพ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพและเรียนรู้อย่างมีความสุข
2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย องค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียน ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การบริหารจัดการการวางแผน การใช้กลยุทธ์ของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ขั้นที่ 2 การบริหารจัดการโครงสร้างของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ขั้นที่ 3 การบริหารจัดการการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ขั้นที่ 4 การบริหารจัดการพัฒนาทีมงานของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ขั้นที่ 5 การบริหารจัดการการสร้างเสริมสุขภาพและการเรียนรู้ของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ขั้นที่ 6 การบริหารจัดการสื่อการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และขั้นที่ 7 การบริหารจัดการการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย 4) การวัดผลและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า โดยรวมเด็กมีพัฒนาการดีมากตามเกณฑ์ที่กำหนด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.54 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อ 4 เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 2.71 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 รองลงมาข้อ 3 เด็กมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.66 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.47 ในขณะที่ข้อ 6 เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร
มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 2.42 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53
4. ผลการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีดังนี้
4.1 รูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.53เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่ 4 การวัดผลและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 4.75 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.46 รองลงมาองค์ประกอบที่ 1 หลักการ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.67 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51 ในขณะที่องค์ประกอบที่ 3 ขั้นตอนการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลสันโป่ง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดเท่ากับ 4.30 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.61
4.2 ความคิดเห็นการปรับปรุง แก้ไข รูปแบบการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ควรมีการปรับปรุงในแต่ละขั้นตอนเพียงเล็กน้อย

















thayaya2522 13 ม.ค. 2566 เวลา 19:03 น. 0 416
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^