LASTEST NEWS

08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567สพป.ชุมพร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 61 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 8-14 พ.ค.2567 07 พ.ค. 2567สอบครูผู้ช่วยปี67รอบทั่วไป เลือกสมัครได้เขตเดียว เข้มสกัดทุจริต 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

หัวข้องานวิจัยหัวข้องานวิจัย การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทย

usericon

หัวข้องานวิจัย    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนแบบ Inquiry Cycle และ Active Learning เพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย    นางภัชรินทร์ อาจชัยศรี
ปีการศึกษา    2565
บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนา เรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนแบบ Inquiry Cycle และ Active Learning เพื่อสร้างเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนแบบ inquiry cycle และ active learning 2) พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนแบบ inquiry cycle และ active learning 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนแบบ inquiry cycle และ active learning และ 4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนแบบ inquiry cycle และ active learning กลุ่มตัวอย่างแยกเป็น ผู้ให้ข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) 12 คน ผู้ทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดการสอนแบบ Inquiry Cycle และ Active Learning แบบประเมินทักษะ การคิดวิเคราะห์ แบบประเมินคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผลการวิจัย
1.    ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน พบว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวัฏจักร การสืบเสาะหาความรู้ (inquiry cycle) และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ใช้กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กิจกรรมที่ใช้จะต้องเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ปัญหาด้วยวิธีการและการหาคำตอบที่เกิดจากการศึกษาค้นคว้า โดยผู้เรียนจะแสวงหาความรู้และลงมือปฏิบัติหรือกระทำจริงจนเกิดความรู้ด้วยตนเอง ทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ทักษะการจำแนก ทักษะการจัดหมวดหมู่ ทักษะการเชื่อมโยง ทักษะการสรุปความ และ ทักษะการประยุกต์ โดยนักเรียนต้องการให้เน้นการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม และให้มีกิจกรรมปฏิบัติมากกว่าการบรรยาย เมื่อนักเรียนเกิดข้อสงสัยต้องอนุญาตให้สอบถามครูได้ทั้งในและนอกห้องเรียน ด้านครูและผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้เห็นว่า เมื่อนักเรียนเกิดข้อสงสัยต้องสามารถสอบถามครูได้ทั้งในและนอกห้องเรียน ส่วนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ เห็นว่ารูปแบบที่ออกแบบไว้มีความเหมาะสม เห็นควรให้มีการดำเนินการได้
2.    ผลการพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ พบว่า รูปแบบฉบับร่าง มีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) องค์ประกอบเชิงโครงสร้าง ได้แก่ หลักการ และ วัตถุประสงค์ 2) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดการสอนแบบกระบวนการวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (inquiry cycle : 5Es) และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) มีส่วนประกอบสำคัญคือ แผนการจัดการเรียนรู้ ใบความรู้ ใบงานหรือใบกิจกรรม แบบทดสอบการเรียนรู้ และ 3) องค์ประกอบด้านเงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ ผลการประเมินประสิทธิภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏว่า รูปแบบมีค่าความสอดคล้องเชิงโครงสร้างและกระบวนการด้านความสมเหตุสมผล เชิงทฤษฎี ด้านความเป็นไปได้ และด้านความสอดคล้องเชิงโครงสร้างของรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบจากการทดลองแบบภาคสนามผ่านเกณฑ์คุณภาพตามที่กำหนด
3.    ผลการทดลองใช้ พบว่า ประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีแบบเปิด (Open Approach) เพื่อส่งเสริมทักษะภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
4.    ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับสูง นักเรียนมีคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^