LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

เผยแพร่ผลงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทคุณ”
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาครสมุทรสงคราม
ผู้ประเมิน : สายธวา อาบรัมย์ รองผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ"
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ปีการศึกษา : 2564

บทคัดย่อ
การประเมินการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกยามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม โดยใช้รูปแบบการประเมิน IPOO Model ประเมิน 4 ด้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input evaluation : I) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม 2) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process evaluation : P) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม 3) เพื่อประเมินผลผลิต (Output evaluation : O) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ 4) เพื่อประเมินผลลัพธ์ (Outcome evaluation : O) (ความพึงพอใจ) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ให้ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการของโครงการ (Process) และผลผลิต โครงการ (Output) ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู พนักงานราชการครู และครูอัตราจ้าง จำนวน 109 คน 2) กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลด้านผลลัพธ์ (Outcome)(ความพึงพอใจ) ของโครงการ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,091 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามจำนวน 4 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency (f)) ค่าร้อยละ (Percentage (%)) ค่าเฉลี่ย (Mean (μ)) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation (σ))

ผลการประเมิน
การประเมินการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงครามสรุปผลได้ดังนี้
    1. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทคุณ” ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) ในภาพรวมพบว่า ปัจจัยนำเข้าของโครงการ (การประเมินความพร้อมของทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินงาน) มีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.50, σ = 0.50)
    เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีระดับความพร้อมในระดับ มาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยของระดับความพร้อมมากที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ (μ = 4.51, σ = 0.50) รองลงมาเป็นด้านครู / บุคลากรดำเนินงาน (μ = 4.51, σ = 0.50) ด้านวัสดุอุปกรณ์อาคารสถานที่(μ = 4.50, σ = 0.50) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับความพร้อมน้อยที่สุดคือ ด้านงบประมาณและแหล่งงบประมาณ (μ = 4.48, σ = 0.50)
    2. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทคุณ” ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ด้านกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) ตามวงจรเดมมิ่ง PDCA พบว่าในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (μ = 4.40, σ = 0.61)
     เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอน ขั้นที่มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติมากที่สุด คือ การดำเนินงานตามแผน (Do) (μ = 4.43, σ = 0.59) รองลงมาคือ ขั้นสรุป/รายงานผล/ปรับปรุง(Act) (μ = 4.39, σ = 0.60) การวางแผนเตรียมการ (Plan) (μ = 4.25,  = 0.56) และ ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติน้อยที่สุดคือ ขั้นการประเมินผล (check) (μ = 4.25, σ = 0.70)
3. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทคุณ” ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ด้านปัจจัยด้านผลผลิตของโครงการ (Output Evaluation) พบว่าในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (μ = 4.21, σ = 0.67)
ค่าเฉลี่ยของรายการประเมินผลการประเมินปัจจัยด้านผลผลิตของโครงการ (Output Evaluation) พบว่าระดับการปฏิบัติอยู่ในด้านฝึกทักษะการตัดสินใจ (Decision making)
(μ = 4.64, σ = 0.48) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านฝึกทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving) (μ = 4.53, σ = 0.50) ด้านฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) (μ = 4.52, σ = 0.50) และ และ ตามลำดับ ส่วนน้อยที่สุดคือด้าน ฝึกทักษะการจัดการกับความเครียด (Coping with stress) ซึ่งมีค่าค่าเฉลี่ยการปฏิบัติ อยู่ที่ (μ = 3.45, σ = 1.07)
4. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงครามด้านผลลัพธ์ (Outcome)(ความพึงพอใจ) โดยภาพรวมพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจ (μ = 4.35, σ = 0.57) ข้อมูลผลจากการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนพบว่า ส่วนใหญ่ นักเรียนสามารถพัฒนาพฤติกรรม และ บุคลิกภาพของตนเองให้เป็นที่พึงปรารถนาของสังคม(μ = 4.75, σ = 0.70) รองลงมาคือ นักเรียนมีสัมพันธภาพที่ดีกับครู กล้าที่จะปรึกษาหารือกับครู (μ = 4.70, σ = 0.50) และ สัมพันธภาพที่ดีกับนักเรียนให้เกิดความคุ้นเคยเป็นกันเองมีความไว้วางใจรู้สึกมีที่พึ่งและมีความอบอุ่นใจนั(μ = 4.55, σ = 0.50) นักเรียนได้ปรับปรุงพฤติกรรมของตนเอง ให้มีคุณลักษณะที่พึงมากขึ้นเพื่อจะได้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (μ = 4.54, σ = 0.50) ส่วนน้อยที่สุดคือด้าน นักเรียนสามารถใช้วิจารณญาณของตน ในการแก้ปัญหาขัดแย้งระหว่างความต้องการของตนกับขอบเขตของศีลธรรมจรรยาได้ดีขึ้น ซึ่งมีค่าค่าเฉลี่ยการปฏิบัติ อยู่ที่ (μ = 3.10, σ = 0.85)

คำสำคัญ : การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน




saythawa.ar 22 พ.ย. 2565 เวลา 09:39 น. 0 341
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^