LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567 24 ก.ค. 2567สมศ.ประกาศ ขอความร่วมมือสถานศึกษา งดจัดเตรียมพิธีการต้อนรับ รวมถึงมอบของที่ระลึกให้แก่ผู้ประเมินทุกรูปแบบ

รายงานการประเมินโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์

usericon

ชื่อผลงาน      รายงานการประเมินโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564
ชื่อผู้รายงาน นางสาววิลาสิณี ทองสมนึก
หน่วยงาน     โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
ปีที่รายงาน     2565

บทคัดย่อ

        
                                    การประเมินโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 ผู้ประเมินได้ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบซิปโมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam, 1990)โดยกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 5) เพื่อประเมินภาพรวมทั้ง 4 ด้านของซิปโมเดล (CIPP Model) และ 6) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการนี้คือ 1) นักเรียน จำนวน 251 คน 2)ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 96 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 251 คน และ 4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ และรวบรวมข้อมูล คือ ฉบับที่ 1 แบบประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 เป็นแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ประเมินโดย นักเรียน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 เป็นแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ประเมินโดยนักเรียน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบประเมินที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.826 - 0.834 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) ค่าร้อยละ (%) 2) ค่าเฉลี่ย ( ) 3) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 4) ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟา (α) ของครอนบราค (Cronbach) และ 6) ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามโดยใช้เทคนิค IOC (Index of Item Objective Congruence)
ผลการประเมินโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 พบว่า
1) ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) ของโครงการ ความต้องการและความจำเป็นความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ความสอดคล้องกับนโยบาย และความเป็นได้ของโครงการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38 ,S.D. = 0.62)
2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ของโครงการ ความพร้อมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุน ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.31 ,S.D. = 0.66)
3) ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ของโครงการ การวางแผน (P) การดำเนินการ (D) การติดตามและประเมินผล (C) และการนำผลการประเมินมาปรับปรุง/พัฒนา (A) ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.49 ,S.D. = 0.61)
4) ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.48 ,S.D. = 0.73)
5) ผลการประเมินโครงการบริหารงานวิชาการ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี ปีการศึกษา 2564 ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42 ,S.D. = 0.65)
และ 6) ผลการประเมินด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินโครงการ ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47 ,S.D. = 0.69)


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^