LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมฯ

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการ
            โค้ชชิ่งทีมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนโนนสะอาดราษฎร์อำนวย สำนักงาน
            เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2
ผู้วิจัย            นางประสพสุข ศรีหงษ์ทอง
โรงเรียน        โนนสะอาดราษฎร์อำนวย                 ปีที่พิมพ์ 2563

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการโค้ชชิ่งทีมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนโนนสะอาดราษฎร์อำนวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการประเมินองค์ประกอบและตัวชี้วัด ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เลือกแบบเจาะจง การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ศึกษาจากประชากรทั้งหมด ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนโนนสะอาดราษฎร์อำนวย จำนวน 15 คน 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการโค้ชชิ่งทีมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์โรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 6 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม ได้แก่ ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เลือกแบบเจาะจง 3) นำรูปแบบฯ ไปใช้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนโนนสะอาดราษฎร์อำนวย จำนวน 15 คน โดยความสมัครใจ และ 4) ประเมินรูปแบบฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนโนนสะอาดราษฎร์อำนวย จำนวน 15 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความเหมาะสม แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินรูปแบบ แบบทดสอบก่อน-หลังพัฒนา มีความเชื่อมั่น 0.90 แบบสอบถามพฤติกรรม แบบสอบถามประสิทธิภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติทีใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการทดสอบที
    ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นฯ องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการ มี 5 ด้าน 26 ตัวชี้วัด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด สภาพปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 2) ผลการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 เนื้อหาของรูปแบบ ประกอบด้วย หน่วยการพัฒนาที่ 1) การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน 4) การนิเทศการศึกษา 5) การพัฒนาสื่อและใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาส่วนที่ 3 กระบวนการพัฒนา ส่วนที่ 4 การประเมินผล และส่วนที่ 5 เงื่อนไขความสําเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการนำรูปแบบฯ ไปใช้ พบว่า คะแนนประเมินความรู้หลังการเข้าร่วมสูงกว่าคะแนนประเมินความรู้ก่อนการเข้าร่วมพัฒนาแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และระดับพฤติกรรมก่อนการพัฒนาอยู่ในระดับปานกลาง หลังการพัฒนาอยู่ในระดับมากที่สุด 4) ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ด้านอรรถประยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และผลการประเมินระดับความพึงพอใจ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ; การบริหารงานวิชาการ; การบริหารแบบมีส่วนร่วม;
     กระบวนการโค้ชชิ่ง


TITLE         The Development Model of Participation in Academic Administration by Using
Team Coaching Process to Improving the Quality for students of Nonsa
ardradamnuay school under the Kalasin Primary Educational Area Office 2
AUTHOR            Mrs. Prasopsuk Srihongthong
SCHOOL            Nonsa ardradamnuay                 YEAR     2020

ABSTRACT

    The purposes of this research were to Develop Model of Participation in Academic Administration by Using Team Coaching Process to Improving the Quality for students of Nonsa ardradamnuay school under the Kalasin Primary Educational Area Office 2, is research and development The research was divided into 4 phases: 1) Study the current condition desirable condition and necessary needs, The group of informants in the assessment of components and indicators are 7 experts, Purposive Sampling, Study of current conditions desirable condition Study of the entire population, including 15 teachers and educational personnel of Nonsa ardradamnuay school 2) Develop of Participation in Academic Administration by Using Team Coaching Process to Improving the Quality for students Model, The group of respondents from interviews with schools with best practice included School Directors and Academic Head Teachers comprising 6 people and informant group in focus group 9 experts, purposive sampling. 3) Implement the Model, Target group 15 teachers and educational personnel of Nonsa ardradamnuay school, by willing. and 4) Evaluate the Model, The group of informants 15 teachers and educational personnel of Nonsa ardradamnuay school, Purposive Sampling. The study research instruments, suitability, the current condition questionnaire reliability 0.91 and the confidence value of the desirable condition questionnaire reliability 0.93, interview form, focus group form, model assessment form, pre-test, post-test reliability 0.90, behavior questionnaire, model questionnaire and satisfaction questionnaire. This study employed arithmetic mean, standard deviation, PNI modified and t-test.
    The results were as follows : 1) Study results the current condition desirable condition and necessary needs, elements Academic Administration There are 5 aspects, 26 indicators, It is appropriate is at the highest level, The current condition were at medium level, Desirable condition at the highest level, The highest need is for the development of educational institutions curricula. 2) Result of Develop the Model, consists of 5 parts: Part 1, Principles and Objectives, Part 2, Contents of the Model Consisting of Development Unit 1 Curriculum development of educational institutions, Unit 2 the development of the learning process, Unit 3 Measuring, evaluating, and conducting comparisons to transfer academic results, Unit 4 Educational supervision, Unit 5 Media development and use of technology for education, Part 3 development process, Part 4 evaluation and Part 5 conditions of success, The results of the suitability assessment and the feasibility was at the highest level. 3) Result of implement the model, The knowledge assessment score after join the development higher before join the development different with statistical significance at .05 level, and the level of pre-development behavior was at medium level post-development is at the highest level. 4) Evaluation of model results, Utility, Feasibility, Propriety, Accuracy as a whole was at highest level, and the satisfaction analysis as a whole was at highest level.

Keyword : The Development of Model; Academic Administration;
     Participatory Management; Team Coaching Process
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^