LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน    นางสาวขนิษฐา กำเนิดทอง ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่พิมพ์    พ.ศ. 2565

บทคัดย่อ
    
     การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อม ของโครงการ 2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ 3) ประเมินกระบวนการด้านการบริหารโครงการและด้านการดำเนินกิจกรรม และ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ ในด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และเปรียบเทียบพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนก่อนและหลังการดำเนินโครงการ โดยใช้การประเมินตามรูปแบบจำลองซิปป์ (CIPP model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 405 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการบริหารโรงเรียน จำนวน 18 คน ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 12 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564 จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ประกอบด้วย ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความต้องการเร่งด่วนในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน จำนวน 15 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินกระบวนการ ด้านการบริหารโครงการ จำนวน 20 ข้อ ฉบับที่ 5 แบบสอบถามประเมินกระบวนการด้านการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ จำนวน 15 ข้อ ฉบับที่ 6 แบบสอบถามประเมินผลผลิตของโครงการ ด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 12 ข้อ และ ฉบับที่ 7 แบบสอบถามประเมินผลผลิตของโครงการ ด้านพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ t–test แบบ Dependent Sample test
        ผลการประเมินโครงการ ปรากฏดังนี้
        1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการ เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. = 0.15) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ โครงการมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของโรงเรียนและชุมชน ( = 4.94, S.D. = 0.24) รองลงมา ได้แก่ กิจกรรมเน้นการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม แก่นักเรียน ( = 4.88, S.D. = 0.33) และกิจกรรมตามโครงการมีความชัดเจน ปฏิบัติได้จริง ( = 4.85, S.D. = 0.36) ตามลำดับ
        2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า มีความ เหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.20) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ ครู บุคลากร และนักเรียน มีความพร้อมในการดำเนินโครงการ ( = 4.87, S.D. = 0.34) รองลงมา ได้แก่ มีระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการดำเนินการและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน ( = 4.82, S.D. = 0.39) และผู้บริหารสถานศึกษาให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการ ( = 4.78, S.D. = 0.42) ตามลำดับ
        3. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564
            3.1 ด้านการบริหารโครงการ เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. = 0.13) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด คือ กิจกรรมแบ่งเขตรับผิดชอบเวรประจำวัน สามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนได้ ( = 4.89, S.D. = 0.32) รองลงมา ได้แก่ กิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติและทำกิจกรรมประจำวัน สามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนได้ ( = 4.78, S.D. = 0.42) และกิจกรรมประชุม และสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ปกครองและครูประจำชั้นสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนได้ ( = 4.80, S.D. = 0.40) ตามลำดับ
            3.2 ด้านการดำเนินกิจกรรม เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D. = 0.25) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับการปฏิบัติมากที่สุด คือ นักเรียนได้รับการฝึกกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมอย่างสม่ำเสมอ ( = 4.83, S.D. = 0.38) รองลงมา ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ครูจัดมีประโยชน์ ( = 4.80, S.D. = 0.40) และนักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านการสอนคุณธรรมจริยธรรม ( = 4.79, S.D. = 0.41) ตามลำดับ
        4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564
            4.1 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.25) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ นักเรียนมีความพึงพอใจและอยากให้มีกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ( = 4.82, S.D. = 0.40) รองลงมา ได้แก่ นักเรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติและทำกิจกรรมประจำวัน ( = 4.79, S.D. = 0.41) และนักเรียนเห็นคุณค่าและตระหนักในความสำคัญของการเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม ( = 4.76, S.D. = 0.43) ตามลำดับ
            4.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม ก่อนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( = 2.88, S.D. = 0.16) ส่วนหลังการดำเนินกิจกรรมตามโครงการนักเรียนมีพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58, S.D. = 0.11) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนหลังดำเนินกิจกรรมตามโครงการสูงกว่าก่อนดำเนินกิจกรรมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^