LASTEST NEWS

15 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย ภาค ก และ ภาค ข รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 15 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย ภาค ก และ ภาค ข รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 14 พ.ค. 2567โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง รับสมัครครูอัตราจ้าง 10 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท สมัครออนไลน์ ตั้งแต่บัดนี้-23 พฤษภาคม 2567 14 พ.ค. 2567เสมา 1 มั่นใจ เงินเดือนครูขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศไร้ตกเบิก เน้นย้ำนโยบายการทำงาน ศธ. “ถูกต้อง รวดเร็ว ประโยชน์ ประหยัด” 13 พ.ค. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 เปิดระบบ ให้ตรวจสอบคะแนน สอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 2567 13 พ.ค. 2567สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับสมัครพนักงานราชการ 7 อัตรา วุฒิม.6-ปริญญาตรี ตั้งแต่ 20-27 พ.ค. 2567 13 พ.ค. 2567รมว.กระทรวงศึกษาธิการ ลงนาม แนวทางการปฏิบัติตามนโยนายกระทรวงศึกษาธิการ เน้นย้ำ โครงการกิจกรรมต่าง ๆ เรียบง่าย ประหยัด พอเพียง ไม่ต้องผูกผ้า ไม่ต้องติดป้ายต้อนรับ 13 พ.ค. 2567ศธ.ย้ำเปิดเทอมใหม่สภาพรถรับส่ง นร.ต้องได้มาตรฐาน 13 พ.ค. 2567ศธ.เล็งปรับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัว รร.ขนาดเล็ก 13 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลป่าโมก (วัดโบสถ์สายทอง) รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 7,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 17 พ.ค.2567

รายงานการประเมินโครงการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน โดยใช้..

usericon

การประเมินโครงการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ ๑” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความสอดคล้อง ความต้องการจำเป็นและเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณและทรัพยากรต่างๆ เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ ขั้นติดตามและขั้นปรับปรุงแก้ไข และเพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพของผลผลิตผู้ร่วมโครงการ และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของครู โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 4 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน ครูผู้สอน จำนวน 104 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) โดยใช้ระดับชั้นเป็นหน่วยการสุ่ม สุ่มระดับชั้นละ 50 คน จึงได้กลุ่มตัวอย่างมา จำนวน 300 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 4 ฉบับ เป็นแบบสอบถามทั้ง 4 ฉบับ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ ดังนี้
    ผลการประเมิน
        ผลการประเมิน พบว่า ตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็นและภาพรวมของโครงการทั้งหมด มีดังนี้
        1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context) พบว่า มีความสอดคล้องกับความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ /สพฐ./สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/โรงเรียน วัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมกับสภาพปัญหา
        2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า มีความพร้อม ความพอเพียงและการสนับสนุนต่าง ๆ ในด้านบุคลากร งบประมาณ เอกสาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ ขั้นประเมิลผลและขั้นปรับปรุงแก้ไข มีการปฏิบัติและมีความเหมาะสม โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
        4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) พบว่า
            4.1 ปีการศึกษา 2563 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีงานวิจัย ในชั้นเรียนมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ ๑” ระหว่างปีการศึกษา 2563 กับปีการศึกษา 2564 พบว่า ครูโรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ ๑” ทำวิจัยในชั้นเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 100.00
            4.2 ผลการพัฒนาครูและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ก่อนและหลังการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ผลการพัฒนาครูและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนหลังการดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนการดำเนินโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
            4.3 ผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนก่อนและหลังการจัดการพัฒนา การจัดการเรียนการสอนของครูโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน ในปีการศึกษา 2564 มีจำนวน 104 เรื่อง โดยในแต่ละเรื่องมีการนำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนมาใช้ พบว่า การวิจัยในชั้นเรียนของครูสามารถพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และสามารถแก้ไขพฤติกรรมเชิงลบทางการเรียนได้
            4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนของครู โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ ๑” พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

    ข้อเสนอแนะ
        ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้
            1. การประเมินครั้งนี้ สภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน โรงเรียนบางปะอิน “ราชานุเคราะห์ ๑” อยู่ในระดับมาก ดังนั้นจึงควรสร้างความตระหนัก ความสำคัญเรื่องแนวคิดและแสวงหาความรู้ใหม่ในการทำวิจัยในชั้นเรียนแก่ครูมากขึ้น เพื่อให้การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูประสบความสำเร็จมากขึ้น ส่งผลต่อการนำไปใช้พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้เกิดผลต่อนักเรียนต่อไป
            2. ในสภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านต่าง ๆ ที่มีผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียน ทั้งในด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียน และด้านทักษะในการวิจัย ในชั้นเรียน ดังนั้นจึงควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาในด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ในชั้นเรียน ควรมีที่ปรึกษาการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยมีการแต่งตั้งครูผู้เชี่ยวชาญด้านการทำวิจัยคอยเป็นที่ปรึกษาแก่ครูผู้สอนที่ต้องการ และจัดอบรมสนับสนุนให้ครูผู้สอนเกิดทักษะในการทำวิจัยให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันมากขึ้น
        ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
            1. ควรทำการศึกษารูปแบบหรือกระบวนการในการจัดอบรมการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน เพื่อเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนให้ดียิ่งขึ้น และมีประสิทธิภาพรอบด้านมากยิ่งขึ้น
            2. ผู้บริหารโรงเรียนควรให้ความสำคัญต่อการดำเนินการของโครงการอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนให้ครูได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นร่วมรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน
            3. ควรมีการสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานร่วมกันของครูในโรงเรียนทุกฝ่าย ให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ที่วางไว้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^