LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567

นวัตกรรม Bansang Coding Space โรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง

usericon

ชื่องานการศึกษา : รูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding
Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL โรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง
อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อผู้ศึกษา     : ศกลวรรณ สินประเสริฐ
ตำแหน่ง : รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
สถานที่ทำงาน     : โรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง
ปีที่ทำการศึกษา     : 2565

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการศึกษา ดังนี้ 1.เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL โรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี 2.เพื่อศึกษาคุณภาพนวัตกรรมการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL 3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL โรงเรียนอนุบาลวัดบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี งานศึกษานี้ใช้รูปแบบงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ออกแบบรูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL ระยะที่ 2 การศึกษาคุณภาพนวัตกรรมการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL ระยะที่ 3 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL
ผลการศึกษาพบว่า
1) รูปแบบการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL มีค่าเฉลี่ยของความตรง (Validity) ทั้งหมดเท่ากับ 0.95 อยู่ในระดับใช้ได้
2) การศึกษาคุณภาพนวัตกรรมการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL พบว่าผลการประเมิน การคิดเชิงระบบของผู้เรียนที่ผ่านการใช้กิจกรรมชุดกิจกรรมเสริมทักษะพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็น
ระบบด้วย Bansang Coding Space ควบคู่กับกิจกรรมลาน Coding Space กิจกรรม Coding Challenge และห้องเรียน Coding Online ก่อนและหลังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาทักษะการคิดอย่างเป็นระบบด้วย Bansang Coding Space ภายใต้กระบวนการ AWBS MODEL พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านกิจกรรม Coding Challenge มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 ด้านห้องเรียน Coding Online มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 ด้านประโยชน์ที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.89 ด้านลาน Coding Space มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 ตามลำดับ ส่วนอันดับสุดท้ายได้แก่ ด้านชุดฝึกเสริมทักษะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.81
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^