LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองขุด
ปีการศึกษา 2564

ผู้ศึกษา     นางสาวดรุณี โพธิ์เจริญ

ปีที่ศึกษา    2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายคือ 1) เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านคลองขุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล ใน 4 ด้าน คือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต 2) เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายในกรอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรอง การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา และการส่งต่อ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมในโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านคลองขุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
    กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 606 คน ประกอบด้วย 1) ครู กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 35 คน (ยกเว้น ครูพี่เลี้ยงเด็กพิเศษ ซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการนี้) 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 13 คน (ยกเว้นผู้บริหารและผู้แทนครู) 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 348 คน (เนื่องจากนักเรียนชั้นดังกล่าวมีความสามารถในการอ่านและการเขียน สามารถสื่อความจากข้อคำถามของแบบประเมินได้ดี) 4) ผู้ปกครอง กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสุ่มของเครซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 210 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 สอบถามเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของโครงการ ซึ่งสอบถามครูและคณะกรรมการสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.84 ฉบับที่ 2 สอบถามเกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ซึ่งสอบถาม ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 ฉบับที่ 3 สอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการ ซึ่งสอบถาม ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82 ฉบับที่ 4 สอบถามเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ ซึ่งสอบถาม ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.80 ฉบับที่ 5 สอบถามเกี่ยวกับการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายในกรอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรอง การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา และการส่งต่อ ซึ่งสอบถามครู และนักเรียน มีค่า ความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 และฉบับที่ 6 สอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน ที่มีต่อการจัดกิจกรรมในโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
1.    การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านคลองขุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล โดยใช้แบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) ของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ในองค์ประกอบ 4 ด้าน พบว่า
1.1    การประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.24
1.2    การประเมินปัจจัยเบื้องต้นของโครงการในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36
1.3    การประเมินกระบวนการของโครงการในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.40
1.4    การประเมินผลผลิตของโครงการ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47
2.    การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายในกรอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5 ขั้นตอน พบว่า
2.1    การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายในกรอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในขั้นตอนการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33
2.2    การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายในกรอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในขั้นตอนการคัดกรอง อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48
2.3    การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายในกรอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในขั้นตอนการส่งเสริมนักเรียน อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.45
2.4    การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายในกรอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในขั้นตอนการป้องกันและแก้ไขปัญหา อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26
2.5    การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนภายในกรอบการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในขั้นตอนการส่งต่อ อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44
    3. ความพึงพอใจของครูคณะกรรมการสถานศึกษาผู้ปกครองและนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมในโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านคลองขุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39













ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^