LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่ คุณภาพผู

usericon

ชื่อเรื่อง        รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่
คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน    นางสาวลัดดา แสงจันทร์
ตำแหน่ง    รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พัทลุง
ปีที่รายงาน    ปีการศึกษา 2564
บทสรุป
    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อมโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 2) ประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 3) ประเมินกระบวนการโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 และ4) ประเมินผลผลิตโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ดังนี้ 4.1) ระดับคุณภาพการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 4.2)ระดับคุณภาพของบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 4.3) คุณภาพผู้เรียน ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา และผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 และ 4.4) ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ ประกอบด้วยกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 274 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 274 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบบันทึกข้อมูล โดยแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยใช้โปรแกรม SPSS Version 18 ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง 0.880 - 0.983 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าร้อยละ (Percentage)
ผลการประเมินพบว่า
1.    ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู โดยประเมิน 4 ด้าน คือ ด้านความต้องการ/ความจำเป็น ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์โครงการ ด้านความสอดคล้องกับนโยบาย และด้านความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวม พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.50, S.D.= .24 และ = 4.59, S.D.= .22) ได้คะแนนรวม 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
2.    ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู โดยประเมิน 5 ด้าน คือ ความพร้อมของบุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ การบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.76, S.D.=.36) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
    3.     ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน คือ การวางแผน (P) การดำเนินการจัดกิจกรรม (D) การติดตามและประเมินผล (C) และการนำผลการประเมินมาปรับปรุง/พัฒนา (A) ภาพรวม พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
    4.     ผลการประเมินด้านผลผลิต
    4.1    ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวม พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.92, S.D.= .24,.25) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ครู มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.86, S.D.= .27) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด ที่ประเมิน


    4.2.    ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพของบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวม พบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.94, S.D.= .23) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ผู้ปกครอง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.93, S.D.= .24) และ ครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90, S.D.= .23) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
        4.3    ผลการประเมินด้านผลผลิตคุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 จำแนกเป็น
                     4.3.1    ผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ย GPA ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษา โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมค่าเฉลี่ย GPA เท่ากับ 3.37
                    4.3.2    ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 2.72 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2564 สูงกว่าปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 15.88
    4.4    ผลการประเมินด้านผลผลิต ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า นักเรียน ครู และผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.94, S.D.= .22, .19,) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน รองลงมา คือ ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.84, S.D.= .32) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมิน
ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.    โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนารายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนสู่คุณภาพผู้เรียน
2.    โรงเรียนอื่น ๆ ที่มีขนาดและบริบทหรือสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับโรงเรียนป่าพะยอมพิทยาคม ควรนำรูปแบบ วิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพราะจะทำให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น
3.    ควรนำผลการประเมินโครงการเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เช่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือหน่วยงานอื่น ๆ ได้รับทราบเพื่อให้การสนับสนุน และเผยแพร่ อย่างกว้างขวาง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินโครงการหรือวิจัยครั้งต่อไป
1.    ควรมีการประเมินโครงการระดับองค์รวมการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
2.     ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ในระดับงานหรือกลุ่มงานย่อยของโรงเรียนทุกโครงการ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นที่เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อมูล และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
3. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนกับผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551


ladda9393.s 29 พ.ค. 2565 เวลา 09:55 น. 0 340
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^