LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้

usericon

ชื่อเรื่อง      รายงานการประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้
โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564
ผู้รายงาน      นางสาวพรภัทร์สร แพงแก้ว
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
    รายงานการประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อ การเรียนรู้ โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 2) เพื่อประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564
3) เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังเสร็จสิ้นโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย
1) ครูและบุคลกรทางการศึกษา โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 139 คน โดย
ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) ใช้ประชากรทั้งเหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง 2) กลุ่มตัวอย่างของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,807 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดอัตราขนาดประชากรและกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan นำมาเทียบอัตราร้อยละกับจำนวนนักเรียนแต่ละระดับชั้น ได้กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 317 คน 3) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองนักเรียน ได้จากผู้ปกครองของนักเรียน ที่ได้รับเลือกให้เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 317 คน รวมครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองที่สุ่มได้เป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 773 คน จากประชากรทั้งหมด จำนวน 3,753 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ 1) แบบประเมินสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้นและกระบวนการของโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 2) แบบประเมินกิจกรรมตามโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 3) แบบประเมินผลผลิตเกี่ยวกับการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 เป็นแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) ตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert) เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์และใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (f), ค่าร้อยละ (%), ค่าเฉลี่ย (X), ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D), ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับเนื้อหาหรือวัตถุประสงค์ (IOC), ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟา (α) สรุปและอภิปรายผล
ผลการประเมินโครงการ
1. ผลการประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 พบว่า ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังเสร็จสิ้นโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนปัญญาวรคุณ ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีผลลัพธ์ ในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหาร ให้ความสำคัญ โดยเห็นชอบอนุมัติโครงการ ส่งเสริมสนับสนุน และอำนวยความสะดวกการดำเนินการในระดับนโยบายโรงเรียน ครู บุคลากร ลูกจ้าง แม่บ้าน นักการ เวรยามผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือในการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเป็นอย่างดี ด้านโครงสร้างพื้นฐานสิ่งปลูกสร้าง ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด ห้องพิเศษ พื้นที่ใช้สอยสะอาดสวยงาม อาคารเรียนอาคารประกอบมั่นคงปลอดภัย เพียงพอต่อการจัดกิจกรรม ด้านพัสดุ ครุภัณฑ์ทางการศึกษา วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา เครื่องมือเครื่องใช้ สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา มีพอเพียง ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และมีสภาพความปลอดภัยต่อครูนักเรียน ด้านสาธารณูปโภค ระบบไฟฟ้า ประปา โทรศัทพ์ อินเทอร์เน็ต เครือข่ายสัญญาณ มีสภาพปลอดภัยและเพียงพอต่อการใช้สอย ทั่วถึงทุกพื้นที่ของโรงเรียน สามารถใช้จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านพื้นที่ใช้สอยร่วมกัน โรงอาหาร อาคารโดม ลานเอนกประสงค์ สนามกีฬา แหล่งเรียนรู้พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ สะอาดถูกสุขอนามัย ปลอดภัยและเพียงพอ มีป้ายนิเทศส่งเสริมการเรียนรู้ ห้องพยาบาล และเวชภัณฑ์ เพียงพอมีครูเจ้าหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบ และระบบส่งต่อฉุกเฉินด้านสุขภิบาล มีประสิทธิภาพ ทั้งอาคารเรียน อาคารประกอบ สนามและพื้นที่ทั่วไป มีการจัดเพิ่มพื้นที่สีเขียว ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ปรับภูมิทัศน์ บริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างเป็นระบบ ด้านการอำนวยความสะดวกการบริการสาธารณะและการรักษา มีการอำนวยความสะดวกบริการการใช้พื้นที่ สนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ภายใน และหน่วยงานภายนอก จัดยานพาหนะในการติดต่อราชการประสานงานกิจกรรมนักเรียน สะดวกรวดเร็วและปลอดภัย จัดระบบมาตรการควบคุมและป้องกันโรคจากการติดเชื้อ Covid-19 ตรวจวัด คัดกรอง ให้คำแนะนำ สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง บริการจุดล้างมือ จัดเวรยามรักษาความปลอดภัยการเข้าออกโรงเรียน จราจร ลดอุบัติเหตุ อุบัติภัย จัดเวรยามผู้ดูแลรับผิดชอบคลอบคลุมทุกพื้นที่ โดยดูแลทั้งด้านความปลอดภัย ความสะอาดและความสงบเรียบร้อยส่วนผลลัพธ์ด้านคุณภาพผู้เรียนหลังเสร็จสิ้นโครงการ พบว่า นักเรียนมีระเบียบวินัยในตนเอง รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเป็นอย่างดี มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย สามารถปฏิบัติตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี ให้ความร่วมมือกับส่วนรวม ช่วยกันทำเวรดูแลความสะอาดห้องเรียน อาคารเรียน และพื้นที่รับผิดชอบ มีน้ำใจต่อผู้อื่น ตรงต่อเวลามีจิตสาธารณะรู้จักเสียสละไม่เห็นแก่ตัว และมีความขยันหมั่นเพียรใฝ่เรียนรู้ นักเรียนมีความรู้ความสามารถตามหลักสูตรการศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านตามเกณฑ์การประเมินที่สถานศึกษากำหนด มีความสามารถด้านการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน มีสมรรถนะที่สำคัญ ค่านิยมที่ดี และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผ่านตามเกณฑ์การประเมิน ที่สถานศึกษากำหนด นักเรียนรู้สึกถึงเป็นเจ้าของโรงเรียนร่วมกันมีความรักหวงแหน และภาคภูมิใจในสถาบัน ดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข


aorny2008 11 พ.ค. 2565 เวลา 18:19 น. 0 525
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^