LASTEST NEWS

02 พ.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย จาก สพป.สกลนคร เขต 1 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 12 พ.ย.2567 02 พ.ย. 2567สพป.มหาสารคาม เขต 3 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 5 อัตรา - รายงานตัว 7 พ.ย.2567 02 พ.ย. 2567รวมข่าว..เปิดสอบพนักงานราชการครู 54 อัตรา สังกัด สพฐ. วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท 02 พ.ย. 2567งบอาหารกลางวันม.1-3 ศธ.มั่นใจเปิดเทอม จัดได้ตามเป้า ชี้ก้าวสำคัญคุณภาพชีวิตเด็กไทย...  01 พ.ย. 2567ครม.ให้ของขวัญล่วงหน้า จัดหยุดยาว 28 ธ.ค. 67-1 ม.ค.68 01 พ.ย. 2567มาแล้ว!! ลิงก์ดาวน์โหลดเกียรติบัตร สมศ. โครงการส่งเสริมสถานศึกษาฯ ปีงบ 68 การศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน 01 พ.ย. 2567สพม.นครราชสีมา เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 39 อัตรา - รายงานตัว 11 พ.ย.2567 01 พ.ย. 2567สพป.สระแก้ว เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 37 อัตรา - รายงานตัว 11 พ.ย.2567 01 พ.ย. 2567บอร์ดคุรุสภา ถกสรรหากรรมการรับรองวิชาชีพครู ยันสอบขอตั๋วครูต้องมีมาตรฐาน 01 พ.ย. 2567สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 24 อัตรา - รายงานตัว 8 พ.ย.2567

นางรัศมี สนั่นนารี. 2555. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระ

usericon

นางรัศมี   สนั่นนารี. 2555. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระ
นางรัศมี สนั่นนารี. 2555. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไป
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเวียงวงกตวิทยาคม อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 35 คน
    การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ โดยนำกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบด้วยวงจรปฏิบัติการวิจัย 3 วงจร ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ตามแนวคิดทฤษฎีของคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 17 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน แบบบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร และ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.24 ถึง 0.75 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.21 ถึง 0.78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.78 แบบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหา ที่มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.50 ถึง 0.88 ค่าความยากง่ายระหว่าง 0.44 ถึง 0.75 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.761

    ผลการวิจัย พบว่า
    1) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีขั้นตอน ในการจัดกิจกรรม 3 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นนำ ประกอบด้วยการทบทวนความรู้เดิมและแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ 2) ขั้นสอน ประกอบด้วย (1) เสนอปัญหาและไตร่ตรองรายบุคคล (2) ไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน จำนวน 7 กลุ่ม (3) ไตร่ตรองระดับชั้นเรียน โดยตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอปัญหาต่อนักเรียนทั้งชั้น (4) ขั้นสรุป เป็นขั้นที่นักเรียนร่วมกันสรุปแนวคิดหลักการหรือสาระสำคัญในเรื่องที่เรียน (5) ขั้นนำไปใช้ โดยให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะ เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจและนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการแก้ปัญหา 3) ขั้นวัดและประเมินผลเป็นขั้นที่ประเมินความรู้ความเข้าใจแต่ละครั้ง จากผลงานของนักเรียน แบบฝึกทักษะ และการร่วมกิจกรรม การมีส่วนร่วม การแสดงความคิดเห็นความสนใจ และความถูกต้องในการนำเสนอผลงาน
    2) นักเรียนที่ได้รับการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 72.79 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ70 และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 74.29 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70
    และผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือที่ใช้มาสะท้อนผลการปฏิบัติ นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ นักเรียนสามารถเลือกวิธีแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหาเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง มีความสามัคคี กล้าแสดงความคิดเห็น สามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ มีทักษะในการทำงานกลุ่ม มีความรับผิดชอบ ทั้งนี้จะช่วยในการแสวงหาความรู้ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันรวมทั้งมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์






02 ธ.ค. 2556 เวลา 09:15 น. 0 1,281
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^