LASTEST NEWS

17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา 15 พ.ค. 2567อาชีวะเตรียมรับพนักงานราชการเพิ่มกว่า 1,100 อัตรา  15 พ.ค. 2567สพฐ.เล็งยุบเลิก รร.ขนาดเล็กที่ไม่มีเด็กเรียน 

เผยแพร่ผลงานวิชาการเรื่องที่ 2

usericon

ชื่องานวิจัย     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R
และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา
ผู้วิจัย     นางสาวนริสรา นาคแท้
สถานที่ศึกษา     โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ปีที่พิมพ์ 2564

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R
และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and
Development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้
แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ พัฒนาความสามารถ
ใน การอ่าน อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประทาย
จังหวัดนครราชสีมา 3) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ รูปแบบการจัดการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาความสามารถ
ใน การอ่าน อย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประทาย
จังหวัดนครราชสีมา 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประทาย
ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนประทาย
อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ที่กำลังเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ2 รหัสวิชา อ31102
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน จำนวน 36 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่ม
แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งการจัดนักเรียนแต่ละห้องเรียนเป็นการจัดนักเรียน
แบบคละความสามารถ ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอน
แบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถ
ทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประทาย ที่ได้รับการจัด
การเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้
แบบร่วมมือ และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประทาย ที่มีต่อการจัด
การเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้
แบบร่วมมือ ใช้ระยะเวลาในการทดลองสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง
เป็นระยะเวลา 9 สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัด
การเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้
แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ข
ปีที่ 4 จำนวน 9 แผน ใช้ เวลา 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบ
วัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ
การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอน แบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ
สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ
(t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เน้นการเรียนรู้
แบบร่วมมือคือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนให้สูงขึ้น และ
นักเรียนมีความสามารถในการทำงานกลุ่มในระดับสูงขึ้น
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้
แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา มี 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) แนวคิดทฤษฎี
2) หลักการ 3) วัตถุประสงค์ 4) เนื้อหาสาระ 5) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 6) ระบบสังคม 7) การวัด
และประเมินผล ใช้ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory) ทฤษฎีการรับรู้และการเข้าใจตนเอง
(Metacognition Theory) และทฤษฎีประมวลผลข้อมูล (Information Processing Theory)
มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ หลักการ คือ นำวิธีสอนแบบ SQ4R และการสอน
แบบร่วมมือมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถใน
การอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความสามารถ ในการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
เนื้อหาสาระที่ใช้ได้แก่ หน่วยการเรียนเรื่อง News & Advertisements กระบวนการจัดการเรียนรู้
เรียกว่า “2W2PC Model” มี 5 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Warm up) 2) ขั้นฝึกอ่านด้วย
ตนเอง (Practice) 3) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิด (Production) 4) ขั้นวิเคราะห์วิจารณ์
บทอ่านและแสดงความคิดเห็น (Comment) 5) ขั้นสรุปและวัดผลประเมินผล (Wrap up)
และผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R
และการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.05/82.26 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้ง
ไว้ 80/80 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการ
สอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ
สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
3. ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียน
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R และการเรียนรู้แบบร่วมมือ
พบว่า การทดสอบค่าสถิติ t = 19.72, df = 35 ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณก่อน
และหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
19.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.89 และหลังเรียนมีเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33.19 ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐานเท่ากับ 1.31 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Kanoktip2524 05 ก.พ. 2565 เวลา 11:50 น. 0 316
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^