LASTEST NEWS

17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา 15 พ.ค. 2567อาชีวะเตรียมรับพนักงานราชการเพิ่มกว่า 1,100 อัตรา  15 พ.ค. 2567สพฐ.เล็งยุบเลิก รร.ขนาดเล็กที่ไม่มีเด็กเรียน 

การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์

usericon

การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อการศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต 4) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 103 คน จำนวน 3 ห้องเรียน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 จำนวน 36 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเทศบาลบ้านสามเหลี่ยม สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 แผน 11 ชั่วโมง     2 ) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต ประเมินพฤติกรรมเป็นรายบุคคล จำนวน 5 ข้อ และประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม จำนวน 5 ข้อ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต ชนิดมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
        1. ประสิทธิภาพของผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 80.62/79.07 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75
        2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7370 แสดงว่าหลังจากที่นักเรียนได้เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 73.70
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 8.56คะแนน และหลังเรียนมี คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 23.72 คะแนน และจากการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย โดยใช้ Wilcoxon Signed Rank test ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
         4. นักเรียนมีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม เรื่อง มิติสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนรวม 31.99 คะแนน คะแนนเฉลี่ย 2.46 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.08 ในภาพรวมนักเรียนมีพฤติกรรมการทำงานกลุ่มในระดับ ดี
krunoot7525 03 ก.พ. 2565 เวลา 07:44 น. 0 386
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^