LASTEST NEWS

17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา 15 พ.ค. 2567อาชีวะเตรียมรับพนักงานราชการเพิ่มกว่า 1,100 อัตรา  15 พ.ค. 2567สพฐ.เล็งยุบเลิก รร.ขนาดเล็กที่ไม่มีเด็กเรียน 

แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2-64 ครูรจนา แสงสุธา

usericon

แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเคลื่อนที่ เรื่อง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
เวลา 4 ชั่วโมง
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่ ......... เดือน ............................................ พ.ศ. 2564    

1. สาระการเรียนรู้
    สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจธรรมชาติของแรงในชีวิตประจำวัน ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุ ลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่าง ๆ ของวัตถุ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ว 2.2 ม.4-6/4 สังเกตและอธิบายแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้
ด้านความรู้
1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายอธิบายแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ ได้
ด้านทักษะกระบวนการ
2. ออกแบบและสร้างจรวดขวดน้ำ
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะสำคัญ
            3. มีจิตสาธารณะและจิตวิทยาศาสตร์
4. มีความสามารถในการคิด ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการแก้ปัญหา
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

2. สาระสำคัญ
เมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุ วัตถุนั้นจะออกแรงโต้ตอบในทิศทางตรงข้ามกับแรงที่มากระทำ ซึ่งแรงทั้งสองแรงนี้จะเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอเราเรียกแรงที่มากระทำต่อวัตถุว่า แรงกิริยา (action force) และเรียกแรงที่วัตถุโต้ตอบต่อแรงที่มากระทำว่า แรงปฏิกิริยา (reaction force) ซึ่งเป็นไปตามกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของ นิวตัน เรียกว่า กฎของแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา (Law of action and reaction) มีใจความว่า “ทุกแรงกิริยา ยอมมีแรงปฏิกิริยาที่มีขนาดเท่ากัน แต่มีทิศทางตรงกันข้ามเสมอ”

3. เนื้อหา/สาระการเรียนรู้
3.1 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
        3.2 การบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา STEM
        3.2.1 S (Science) : แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
3.2.2 T (Technology) : บูรณาการความรู้อื่นในการออกแบบสร้างจรวดขวดน้ำ ,การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
3.2.3 E (Engineering) : การสร้างจรวดขวดน้ำ
            3.2.4 M (Mathematics) : การวัดระยะทางที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของจรวดขวดน้ำ



4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
4.1 มีจิตสาธารณะ
4.2 มีจิตวิทยาศาสตร์

5. สมรรถนะสำคัญ
5.1 ความสามารถในการคิด
5.2 ความสามารถในการสื่อสาร
5.3 ความสามารถในการแก้ปัญหา
5.4 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
5.3 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

6. ชิ้นงาน
    ออกแบบและสร้างจรวดขวดน้ำ

7. กิจกรรมการเรียนรู้ เทคนิค : การบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษากับรูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบสวนสอบสวนแบบ 5Es (Inquiry Method) ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ผ่าน Application Zoom
ชั่วโมงที่ 1

ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความสนใจ
         1. ครูพูดคุยและซักถาม ทบทวนความรู้เดิมในชั่วโมงที่แล้ว เกี่ยวกับเรื่องแรงและผลของแรงลัพธ์ที่มีต่อ วัตถุโดยใช้คำถามต่อไปนี้
        – นักเรียนรู้จักนิวตัน หรือไม่อย่างไร
        – เราสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้อย่างไร
        – นักเรียนรู้จักคำว่าแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา มากน้อยเพียงใด
        2. ครูนำรูปภาพที่เกี่ยวกับการใช้แรงในลักษณะต่างๆ มาให้นักเรียนดูพร้อมกับนักเรียนร่วมกันแสดง ความคิดเห็นตามประสบการณ์ของนักเรียนแต่ละคน
        3. ครูให้นักเรียนดูวีดิทัศน์การส่งดาวเทียมและจรวดออกสู่อวกาศ
        4. นักเรียนช่วยกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงเพื่อเชื่อมโยงไปสู่การเรียนเรื่องแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา

ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหา
5. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๆ ละ 3-4 คน ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาของจรวดและยานอวกาศ จากหนังสือเรียนอินเตอร์เน็ต
6. นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนออกแบบสร้างจรวดขวดน้ำลงในใบกิจกรรมที่ 1 ออกแบบสร้างจรวดขวดน้ำ พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับสร้างจรวดขวดน้ำ

ชั่วโมงที่ 2-3
7. นักเรียนทำกิจกรรมสร้างจรวดขวดน้ำตามรูปแบบที่วางแผนไว้ โดยมีครูเป็นผู้แนะนำในการทำกิจกรรม
8. ทดลองยิงจรวดขวดน้ำและทำการปรับปรุงจรวดให้มีความแข็งแรงและสามารถนำไปแข่งขันในกลุ่มห้องเรียนได้
9. นักเรียนทำการแข่งขันยิงจรวดขวดน้ำ โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทยิงไกล และประเภทแม่นยำ โดยให้นักเรียนเป็นผู้บันทึกข้อมูลเอง
10. มอบรางวัลสำหรับผู้ชนะและชมเชยนักเรียนทุกคน

ชั่วโมงที่ 4
ขั้นที่ 3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป
         11. ครูสุ่มนักเรียนออกมานำเสนอจากการทำกิจกรรม และตอบคำถาม
            12. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงผลที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรม และให้นักเรียนช่วยกันสรุปผล การจากปฏิบัติกิจกรรม
         
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายความรู้
            13. ครูให้นักเรียนศึกษาความรู้เพิ่มเติมเรื่องแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาในใบความรู้ เรื่อง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
            14. ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
ขั้นที่ 5 ขั้นประเมินผล
            15. ให้นักเรียนทำใบกิจกรรมที่ 2 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
            16. ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรมและ การนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์

8. การวัดและการประเมินผล
วิธีการ    เครื่องมือ    เกณฑ์การประเมิน
ด้านความรู้
1. สืบค้นข้อมูลและอธิบายอธิบายแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ ได้    
ใบงาน เรื่อง แรงกิริยาและ แรงปฏิกิริยา     - ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ด้านทักษะกระบวนการ
1. ออกแบบและสร้างจรวดขวดน้ำ    แบบประเมินผลงาน
    - ระดับ 2 ขึ้นไป
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญ
3. มีจิตสาธารณะและจิตวิทยาศาสตร์
4. มีความสามารถในการคิด
5. ความสามารถในการสื่อสาร
6. ความสามารถในการแก้ปัญหา
7. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
8. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต    - แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
- แบบประเมินสมรรถนะสำคัญ
    - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

9. สื่อการเรียนรู้
1. รูปภาพที่เกี่ยวกับการใช้แรงในลักษณะต่างๆ
2. วีดิทัศน์การส่งดาวเทียมและจรวดออกสู่อวกาศ
3. ใบกิจกรรมที่ 1 ออกแบบสร้างจรวดขวดน้ำ
            4. ใบความรู้ เรื่อง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
5. ใบกิจกรรมที่ 2 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
6. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
7. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
8. แบบประเมินสมรรถนะสำคัญ

10. ความคิดเห็นของหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ( ก่อนการนำแผนการสอนไปใช้ )
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………

                        ลงชื่อ..........................................หัวหน้าฝ่ายวิชาการ
                     (นางอุไรวรรณ ปัญญาศิลป์)


11. ความคิดเห็นของรองผู้บริหารสถานศึกษา ( ก่อนการนำแผนการสอนไปใช้ )
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………

                        ลงชื่อ..........................................รองผู้อำนวยการโรงเรียน
                     (นางนวลนิตย์ ถาวงษ์กลาง)


















12. ถอดบทเรียน (เศรษฐกิจพอเพียง)
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………









บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
    ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
    แนวทางการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
        
                            ลงชื่อ..................................................ครูผู้สอน
                         (……………………………………….)


ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………….………………………………
…………………………………………………………………………………………….………………………………………………………………

ลงชื่อ..........................................ผู้อำนวยการโรงเรียน
                     (นายสยาม เครือผักปัง)
                 ................/......................................./..................

รูปภาพที่เกี่ยวกับการใช้แรงในลักษณะต่างๆ



















รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์)    ใบกิจกรรมที่ 1
ออกแบบสร้างจรวดขวดน้ำ    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
รหัสวิชา ว33103        หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

คำถาม ถ้านักเรียนจะสร้างจรวดขวดน้ำเพื่อทำการแข่งขันในชั้นเรียน นักเรียนจะออกแบบสร้างจรวดขวดน้ำ
อย่างไร






















รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์)    ใบกิจกรรมที่ 2
แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
รหัสวิชา ว33103        หน่วยการเรียนรู้ที่ 1







1. นักเรียนทราบว่าโลกออกแรงกระทำต่อเรา นักเรียนคิดว่าตัวเราออกแรงกระทำต่อโลกหรือไม่ อย่างไร ……………………………………………………………………………………………………………………….……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..………………………..…………
2. แรงคู่กิริยา-ปฏิกิริยา มีลักษณะสำคัญอะไรบ้าง ให้ระบุมาอย่างน้อย 3 ข้อ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….…….……………………………………………………………………………………………………………………………………………….……….……
3. ให้ระบุคู่แรงกิริยา-ปฏิกิริยา พร้อมเขียนลูกศรแสดงทิศทางของแรงทั้งสอง จากสถานการณ์ต่อไปนี้
3.1 คนใช้มือกำลังผลักรถให้เคลื่อนที่ไปด้านหน้า

                แรงกิริยาคือ……………………………………………………………………………............
                แรงปฏิกิริยาคือ………………………………………………………………………….………
3.2 การใช้ค้อนตอกตะปู
แรงกิริยาคือ……………………………………………………………………………...........
แรงปฏิกิริยาคือ…………………………………………………………………………………
3.3 โคมไฟที่วางอยู่บนโต๊ะ
             แรงกิริยาคือ……………………………………………………………………………...........
                แรงปฏิกิริยาคือ…………………………………………………………………………….……


คิด วิเคราะห์ และระบุชนิดของแรงว่าเป็นแรงปฏิกิริยาหรือแรงกิริยา

1. การตีลูกเทนนิส ลูกเทนนิสเคลื่อนที่ไปได้ไกล 10 เมตร
.................................................................................................................................................................................
2. ตบลูกบาสเกตบอลลงบนพื้น ลูกบาสเกตบอลกระดอนขึ้นมา
.................................................................................................................................................................................
3. วางก้อนหินหนัก 2 นิวตันบนโต๊ะ
.................................................................................................................................................................................
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์)    ใบความรู้
แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
รหัสวิชา ว33103        หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

ความหมายของแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
แรงกิริยา คือ แรงที่เกิดจากการกระทำโดยสิ่งใดๆ เช่น การออกแรงกดโต๊ะ การออกแรง เตะลูกฟุตบอล น้ำหนักของวัตถุก็เป็นแรงกิริยาแบบหนึ่งที่โลกออกแรงดึงดูดวัตถุให้เข้าสู่ศูนย์กลางของโลก
แรงปฏิกิริยา คือ แรงอันเนื่องมาจากแรงกริยาโดยมีทิศทางตรงกันข้าม และขนาดเท่ากับแรงกริยาเสมอ เช่น รถชนสุนัข แรงกริยา คือ แรงที่รถกระทำกับสุนัข และ แรงปฏิกิริยา คือ แรงที่สุนัขกระทำกับรถ
เมื่อเราออกแรงดึงเครื่องชั่งสปริง เราจะรู้สึกว่าเครื่องชั่งสปริงก็ดึงมือเราด้วยและยิ่งเรา ออกแรงดึงเครื่องชั่งสปริงด้วยแรงมากขึ้นเท่าใดเราก็จะรู้สึกว่าเครื่องชั่งสปริงยิ่งดึงมือเราไปมากขึ้นเท่านั้น





ภาพที่ 1 การออกแรงดึงเครื่องชั่งสปริง
จากตัวอย่างจะพบว่า เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุหนึ่ง วัตถุนั้นก็จะออกแรงโต้ตอบ ในทิศทางตรงข้ามกับแรงที่มากระทำ ซึ่งแรงทั้งสองแรงนี้จะเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอ เราเรียกแรงที่ มากระทำต่อวัตถุว่า "แรงกิริยา" (action force) และเรียกแรงที่วัตถุโต้ตอบต่อแรงที่มากระทำว่า "แรงปฏิกิริยา" (reaction force) แรงทั้งสองนี้จึงเรียกรวมกันว่า "แรงกิริยา-แรงปฏิกิริยา" (action-reaction) จึงสรุปความสัมพันธ์ระหว่างแรงกิริยากับแรงปฏิกิริยาได้เป็นกฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 3 ของนิวตัน ได้ว่า
"แรงกิริยาทุกแรงต้องมีแรงปฏิกิริยาซึ่งมีขนาดเท่ากันและทิศทางตรงข้ามกันเสมอ" หรือ action = reaction หมายความว่า เมื่อมีแรงกิริยากระทำต่อวัตถุใดก็จะมีแรงปฏิกิริยาจากวัตถุนั้นโดยมีขนาดแรงเท่ากันแต่กระทำกับวัตถุคนละก้อนเสมอ จึงนำแรงกิริยามาหักล้างกับ แรงปฏิกิริยาไม่ได้ เช่น กรณีรถชนสุนัข แรงกิริยา คือ แรงที่รถชนสุนัข จึงทำให้สุนัขกระเด็นไป ในขณะเดียวกันจะมีแรงปฏิกิริยา ซึ่งเป็นแรงที่สุนัขชนรถ จึงทำให้รถบุบ จะเห็นว่าเสียหายทั้ง 2 ฝ่าย แสดงว่าแรงไม่หักล้างกัน



ภาพที่ 2 แรงกิริยา คือ แรงที่รถชนสุนัข แรงปฏิกิริยา คือ แรงที่สุนัขชนรถ
ข้อควรจำ ลักษณะสำคัญของแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
1. จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กันเสมอ
2. มีขนาดเท่ากัน
3. มีทิศทางตรงข้ามกัน
4. กระทำต่อวัตถุคนละก้อน

การเคลื่อนที่ของวัตถุเกิดได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. การเคลื่อนที่ด้วยแรงกิริยา หมายถึง แรงที่กระทำต่อวัตถุ เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพเดิมของวัตถุ และวัตถุเคลื่อนที่ด้วยแรงกระทำต่อวัตถุโดยตรงหรือวัตถุเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับทิศของแรงกระทำต่อวัตถุ เช่น การเคลื่อนที่ของลูกธนู การขว้างก้อนหิน ลูกกระสุน เป็นต้น



ภาพที่ 3 การเคลื่อนที่ด้วยแรงกิริยาแรงปฏิกิริยา
2. การเคลื่อนที่ด้วยแรงปฏิกิริยา หมายถึง แรงที่วัตถุกระทำตอบโต้แรงกิริยาในทิศทางตรงข้ามเป็นการเคลื่อนที่ในลักษณะที่แรงขับดันไปข้างหลัง แล้วมีแรงปฏิกิริยาดันวัตถุให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า เช่น การเคลื่อนที่ของจรวด บั้งไฟ เครื่องบินไอพ่น เรือหางยาว เป็นต้น























แบบบันทึกผลการออกแบบและสร้างจรวดขวดน้ำ
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเคลื่อนที่ เรื่อง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา

ที่    ชื่อ-สกุล    รายการประเมิน    รวม จำนวน รายการ ที่ผ่าน
เกณฑ์    สรุป
        วางแผนกำหนดขั้นตอนการทำงาน
    จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ
    สังเกต ศึกษา ทดลอง รวบรวมข้อมูล
    การปรับปรุงชิ้นงาน
                ผ่าน    ไม่ผ่าน
1    นายขวัญชัย คะสุวรรณ                                     
2    นายพงศธร รัตนจันทอง                                     
3    นางสาวกชกร แสงอาทิตย์                                     
4    นางสาวนันทวัน ส่งพิมาย                                     
5    นางสาววชิราภรณ์ สาบุดดี                                     
6    นายผดุงศักดิ์ วิไลพิศ                                     
7    นางสาวกัญญาพร สิงห์งาม                                     
8    นางสาวรุ้งนภา รักษาบุญ                                     
9    นางสาวสุชาดา สายสังข์                                     
10    นางสาววันณิดา ไชยวงค์                                     
11    นางสาวเพ็ญพิชชา ระหา                                    



                         ผู้ประเมิน .................................
(นางรจนา แสงสุธา)
                                     ……..……/………………/…………








แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเคลื่อนที่ เรื่อง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา

ที่    ชื่อ-สกุล    รายการประเมิน    คะแนนรวม    สรุป
        1. มีจิตสาธารณะ    2. มีจิตวิทยาศาสตร์        
        1.1    1.2    1.3    2.1    2.2    2.3    2.4    2.5    2.6        ผ่าน    ไม่ผ่าน
1    นายขวัญชัย คะสุวรรณ                                                 
2    นายพงศธร รัตนจันทอง                                                 
3    นางสาวกชกร แสงอาทิตย์                                                 
4    นางสาวนันทวัน ส่งพิมาย                                                 
5    นางสาววชิราภรณ์ สาบุดดี                                                 
6    นายผดุงศักดิ์ วิไลพิศ                                                 
7    นางสาวกัญญาพร สิงห์งาม                                                 
8    นางสาวรุ้งนภา รักษาบุญ                                                 
9    นางสาวสุชาดา สายสังข์                                                 
10    นางสาววันณิดา ไชยวงค์                                                 
11    นางสาวเพ็ญพิชชา ระหา                                                


                         ผู้ประเมิน .................................
(นางรจนา แสงสุธา)
                                     ……..……/………………/…………













เกณฑ์การประเมิน

คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์    รายการประเมิน    ระดับคะแนน
        3    2    1    0
1. มีจิตสาธารณะ    1.1 รู้จักการให้เพื่อส่วนรวม และเพื่อผู้อื่น                
    1.2 แสดงออกถึงการมีน้ำใจหรือการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น                
    1.3 เข้าช่วยเหลือในการสืบค้นข้อมูลหรือแนวทางการกิจกรรม                
สรุป                
2. มีจิตวิทยาศาสตร์    1.1 ความสนใจการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์                
    1.2 พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์                
    1.3 ศรัทธาและเห็นคุณค่าและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                
    1.4 ตั้งใจหรือเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน                
    1.5 เลือกใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการคิดและปฏิบัติ                
    1.6 ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรมโดยใคร่ครวญไตร่ตรองถึงผลดีและผลเสีย                
สรุป                



เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
    ช่วงคะแนน    ระดับคุณภาพ
        22-27    ดีเยี่ยม
        16-21    ดี
        10-15    ผ่าน
        ต่ำกว่า 10    ไม่ผ่าน


ระดับคุณภาพ    ดีเยี่ยม    ดี    ผ่าน    ไม่ผ่าน
คะแนน    3    2    1    0

    เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับคุณภาพดี (2) ขึ้นไป
    สรุป         ผ่าน         ไม่ผ่าน










คำชี้แจง : ให้ ผู้สอน สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน แล้วทำเครื่องหมาย  ลงในช่องที่ตรงกับระดับคุณภาพ

สมรรถนะด้าน    รายการประเมิน    ระดับคุณภาพ
        ดีมาก
(3)    ดี
(2)    พอใช้
(1)    ปรับปรุง
(0)    สรุปผลการประเมิน
1. ความสามารถในการสื่อสาร    1.1 มีความสามารถในการรับ-ส่งสาร                     ดีมาก
 ดี
 พอใช้
 ปรับปรุง
    1.2 มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเข้าใจของตนเองโดยใช้ภาษาอย่างเหมาะสม                    
    1.3 ใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ                    
    1.4 เจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ได้                    
    1.5 เลือกรับและไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยเหตุผลและถูกต้อง                    
2. ความสามารถในการคิด    2.1 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์                     ดีมาก
 ดี
 พอใช้
 ปรับปรุง
    2.2 มีทักษะในการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์                    
    2.3 สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ                    
    2.4 มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้                    
    2.5 ตัดสินใจแก้ปัญหาเกี่ยวกับตนเองได้อย่างเหมาะสม                    
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต    3.1 ทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสัมพันธ์อันดี                    
    3.2 มีวิธีแก้ไขความขัดแย้งอย่างเหมาะสม                    
สรุป                    

            
เกณฑ์การให้คะแนน

ดีมาก     หมายถึง พฤติกรรมที่ปฏิบัตินั้นชัดเจนและสม่ำเสมอ    ให้ระดับ 3 คะแนน
ดี     หมายถึง พฤติกรรมที่ปฏิบัตินั้นชัดเจนและบ่อยครั้ง     ให้ระดับ 2 คะแนน
พอใช้     หมายถึง พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง         ให้ระดับ 1 คะแนน
ต้องปรับปรุง     หมายถึง ไม่เคยปฏิบัติพฤติกรรมนั้นเลย     ให้ระดับ 0 คะแนน



แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
รายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว33103 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การเคลื่อนที่ เรื่อง แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
เวลา 4 ชั่วโมง
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564






โดย
นางรจนา แสงสุธา
ตำแหน่ง ครู












กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรงเรียนมัธยมบ้านแก้งวิทยา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ
krooannjung 02 ก.พ. 2565 เวลา 11:19 น. 0 780
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^