LASTEST NEWS

17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา 15 พ.ค. 2567อาชีวะเตรียมรับพนักงานราชการเพิ่มกว่า 1,100 อัตรา  15 พ.ค. 2567สพฐ.เล็งยุบเลิก รร.ขนาดเล็กที่ไม่มีเด็กเรียน 

เผยแพร่ผลงาน

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยประยุกต์ใช้หลักการบริหารตามทฤษฎี
เชิงระบบในการเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

ผู้วิจัย        นางนฤมล อินทพงษ์
        ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
        โรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

ปีวิจัย        ปีการศึกษา 2562 (พ.ศ. 2562 – 2563)

    การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยประยุกต์ใช้หลักการบริหารตามทฤษฎีเชิงระบบ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยประยุกต์ใช้หลักการบริหารตามทฤษฎีเชิงระบบ และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยประยุกต์ใช้หลักการบริหารตามทฤษฎี
เชิงระบบในการเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การ ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) ประชากร คือ ครู โรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) จำนวน 65 คน โดยการตอบแบบสอบถาม และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและครู โรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) จำนวน 11 คน โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ฯ หรือรูปแบบ STEPLEARNE ระยะที่ 3 การนำรูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ฯ หรือรูปแบบ STEPLEARNE ไปใช้ ประชากร คือ ครู ที่ไม่ใช่กลุ่มผู้นิเทศ โรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) จำนวน 53 คน เครืองมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู และ ระยะที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ฯ หรือรูปแบบ STEPLEARNE กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและผู้เรียน โรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ฯ หรือรูปแบบ STEPLEARNE สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

สรุปผลการวิจัย
1. ข้อมูลสภาพปัจจุบันในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) พบประเด็นด้านการวางแผนและออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการสะท้อนการจัดการเรียนรู้ ข้อมูลความต้องการจำเป็น (Need Assessment) อยู่ในระดับมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1) การส่งเสริมให้ผู้รับการนิเทศออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกให้ผู้เรียนสรุปองค์ความรู้ และนำเสนอความรู้ด้วยรูปแบบต่าง ๆ 2) การวิเคราะห์ตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้แกนกลาง ร่วมกันระหว่างผู้รับการนิเทศและผู้นิเทศ และ 3) การสอบถามความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศในการดำเนินงานนิเทศการจัดการเรียนรู้
2. การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยประยุกต์ใช้หลักการบริหารตามทฤษฎีเชิงระบบ หรือรูปแบบ STEPLEARNE ประกอบด้วย ด้านปัจจัย (Input) ได้แก่ 1) การคัดเลือกผู้นิเทศ (Selecting : S) 2) การสร้างความเชื่อมั่นและความไว้ใจ (Trust : T) 3) การให้ความรู้เพื่อความเข้าใจ (Educating : E) ด้านกระบวนการ (Process) เป็นการดำเนินการตามกระบวนการของ Process in LEARN หรือ PLEARN และด้านผลผลิตและผลลัพธ์ (Output & Outcome) เป็นการประเมินผล (Evaluating : E) ซึ่งมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในการนิเทศการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ฯ หรือรูปแบบ STEPLEARNE ในการเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี พบว่า ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) อยู่ในระดับดีมาก ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูในแต่ละขั้นมีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ จากการนิเทศการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 3 ครั้ง
4. การประเมินผลรูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือรูปแบบ STEPLEARNE โดยประยุกต์ใช้หลักการบริหารตามทฤษฎีเชิงระบบ ในการเสริมสร้างความสามารถการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู โรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี พบว่า ภาพรวมครูและผู้เรียนมีความพึงพอใจในการใช้รูปแบบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด
int.narumol 29 ม.ค. 2565 เวลา 11:03 น. 0 671
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^