LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์

usericon

ณัฐกฤตา หลานวงศ์. 2564. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบการสอนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป และมีจำนวนนักเรียนไมนอยกวาร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 24 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 13 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการ สะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน แบบฝึกทักษะ และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการวางแผน 2) ขั้นปฏิบัติการ 3) ขั้นสังเกตการณ์ 4) ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกผลการปฏิบัติ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสรุปหาข้อบกพร่องและแนวทางแก้ไข นำไปปรับปรุงแผนการปฏิบัติการใน วงจรต่อไป
ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นสร้างความสนใจ(Engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน ซึ่งกิจกรรมควรเน้นให้นักเรียนได้ทบทวน ความรู้เดิม การใช้คำถาม หรือสื่อของจริงเพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ กับความรู้เดิมของตน 2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้วก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบตั้งสมมติฐานกำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ควรเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมในการสำรวจและค้นหาคำตอบ เพื่อก่อให้เกิดแนวคิดและองค์ความรู้ของตนเองและกลุ่ม โดยแทรกกระบวนการคิดวิเคราะห์ 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 กำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ควรให้นักเรียนได้ฝึกคิด วิเคราะห์จากเรื่องราว หรือเหตุการณ์จริงเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ในลักษณะของกิจกรรมกลุ่ม ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์ กิจกรรมควรเน้นการกำหนดประเด็นข้อสงสัยเพื่อให้นักเรียน วิเคราะห์ความสัมพันธ์จากตัวอย่างเพื่อน าไปสู่เนื้อหาใหม่ ขั้นที่ 3 กำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์ ควรเน้นให้นักเรียนได้ฝึกการวิเคราะห์ แยกแยะ ส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้ 3) ขั้นอธิบาย และลงข้อสรุป (Explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้วจึงนำข้อมูลข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์แปลผลสรุปผลและนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ ซึ่งกิจกรรมนี้ควรเน้นให้นักเรียนได้รับอิสระในการแสดงเหตุผล วิเคราะห์ สรุปผลและนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อแสดงถึงองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น โดยแทรกกระบวนการคิดวิเคราะห์ 2 ขั้น คือ ขั้นพิจารณาแยกแยะกิจกรรมควรเน้นการตั้งคำถามกระตุ้นเพื่อนำไปสู่การคิดวิเคราะห์ และสรุปคำตอบ กิจกรรมควรเน้นให้นักเรียนได้ฝึกการรวบรวมประเด็นที่สำคัญเพื่อหาข้อสรุป เป็นคำตอบหรือแก้ปัญหาของสิ่งที่กำหนดให้ 4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม ซึ่งกิจกรรมนี้ควรเน้นให้นักเรียนนำเอาองค์ความรู้ที่ได้มาไปใช้ประโยชน์ทั้งในเนื้อหาที่ยากหรือซับซ้อนเพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจของนักเรียน 5) ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้างอย่างไร ซึ่งกิจกรรมนี้ควรเน้นให้นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาหรือทำโจทย์เพื่อตรวจสอบ สิ่งที่ได้เรียนรู้ว่ามีความถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนเพียงใด ซึ่งเป็นการประเมินด้านความรู้และความเข้าใจของนักเรียนด้วย
2. นักเรียนได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อย 74.38 และมีจำนวนนักเรียนที่ ผ่านเกณฑ์ 18 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนไว้ คือให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^