LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model

usericon

ชื่อวิจัย    : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริม
         ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ชื่อผู้วิจัย    : จิราพร ปรีชา
สถานที่วิจัย : โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ เทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปีที่ทำการวิจัย : ๒๕๖๓

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ๓) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ และ ๔) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ เทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ จำนวน ๒๔ คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน ๑๑ แผน ๑๘ ชั่วโมง แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ ๐.๘๔ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เป็นแบบเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ ๐.๘๔ และแบบประเมิน ความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น ( ) ๐.๙๓ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานกลุ่มตัวอย่างที่ไม่มีความเป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการศึกษา พบว่า
นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยมีทักษะอยู่ในระดับต่ำ นักเรียนไม่สามารถตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้ถ้าคำถามนั้นไม่ได้ถามเนื้อหาที่ปรากฏชัดเจนในเรื่องที่อ่านไม่ทราบความหมายของคำศัพท์ที่ปรากฏในเรื่องที่อ่าน ไม่ทราบกฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน ไม่สามารถการจับใจความสำคัญของรายละเอียด ไม่ทราบวัตถุประสงค์ของผู้เขียน ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งใด คือ ความจริง หรือสิ่งที่เป็นจริงจากเรื่องที่อ่านและสิ่งใด คือความคิดเห็นของผู้เขียนที่แสดงไว้ในเรื่องนั้น ๆ ไม่สามารถคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น และไม่สามารถประเมินคุณค่าของเรื่องที่อ่านได้
เนื้อหาที่ครูผู้สอนใช้ในการสอนอ่านไม่หลากหลาย เน้นยึดหนังสือเรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนส่วนใหญ่มีขั้นตอนการสอนอ่านไทย คือ ขั้นก่อนอ่าน ครูผู้สอนจะเกริ่นนำหรือบอกนักเรียนว่าจะอ่านเกี่ยวกับเรื่องอะไรและอธิบายคำศัพท์ยากที่มีอยู่ในเนื้อเรื่อง ในขั้นอ่าน ครูจะให้นักเรียนอ่านไปจนจบเรื่อง และระหว่างอ่านนั้นจะอธิบายประโยคที่ครูเห็นว่ามีโครงสร้างที่ยากต่อการเข้าใจพร้อมให้นักเรียนจดบันทึกสิ่งที่ครูอธิบายเรียงไปตามเนื้อเรื่อง และขั้นหลังอ่าน ครูจะให้นักเรียนตอบคำถามท้ายเรื่อง และจะเฉลยจนครบจากนั้นสรุปเป็นคะแนนผู้เรียนรายบุคคล
    รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน อย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ประกอบด้วย ๕ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑. หลักการ ๒. วัตถุประสงค์ ๓. ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย ๓.๑ ขั้นการกระตุ้นความสนใจ (Arousing Attention : A) ๓.๒ ขั้นการเรียนรู้เนื้อหา (Learning : L) ๓.๓ ขั้นการลงมือปฏิบัติ (Action : A) ๓.๔ ขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ (Application : A) ๓.๕ ขั้นการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation : T) ๔. ระบบสังคม และ ๕. การวัดและประเมินผล
    รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๓.๔๔/๘๓.๑๗ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ๘๐/๘๐
    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
    ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
    ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มีค่าเท่ากับ ๐.๗๔๒๗ หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๔.๒๗ ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ ๐.๗๐ ที่กำหนดไว้
    ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ALAAT Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar =๔.๕๒ S.D=๐.๓๙)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^