LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา

การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของ
        โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา
ผู้วิจัย        เสรี อินทร์คง
ปีที่ทำวิจัย    2562
บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2) พัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา (3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา และ (4) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา
วิธีการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยการสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสงขลา จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และนำผลจากการศึกษาเอกสาร งานวิจัย และการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา (2) สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบและคู่มือการใช้รูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และคู่มือการใช้รูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับคุณภาพ (3) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา กลุ่มประชากรประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 1,416 คน ครู จำนวน 60 คน และคณะกรรมการบริหารโรงเรียน จำนวน 9 คน ในปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการบริหารโรงเรียนทีมีต่อการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับคุณภาพ (4) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา โดยนำผลการทดลองใช้รูปแบบในขั้นตอนที่ 3 มาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ระดับคุณภาพที่กำหนด
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสังเคราะห์เอกสารของนักวิชาการไทย และต่างประเทศ งานวิจัยต่างๆ และจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสงขลา เกี่ยวกับแนวคิด หลักการของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่าองค์ประกอบสำคัญของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย 1) กำหนดวิสัยทัศน์ หรือเป้าหมายร่วม 2) การเรียนรู้ร่วมกันและประยุกต์ใช้ความรู้ 3) การร่วมเป็นผู้นำ 4) การสืบสอบสะท้อนคิด 5) ชุมชนกัลยาณมิตร 6) โครงสร้างสนับสนุน 7) การสร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 8) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร จึงได้นำ 8 องค์ประกอบดังกล่าวมาพัฒนาเป็นรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา
2. รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ 1) กำหนดวิสัยทัศน์ หรือเป้าหมายร่วม 2) การเรียนรู้ร่วมกันและประยุกต์ใช้ความรู้ 3) การร่วมเป็นผู้นำ 4) การสืบสอบสะท้อนคิด 5) ชุมชนกัลยาณมิตร 6 )โครงสร้างสนับสนุน 7) การสร้างเครือข่ายชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 8) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร และผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.83 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.39
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา พบว่า
    3.1 คุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน หลังการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา สูงกว่าค่าเป้าหมายที่กำหนดตามเกณฑ์คุณภาพภายในด้านคุณภาพผู้เรียน ปีการศึกษา 2562
    3.2 ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา พบว่าด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.90 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.32 ด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.85 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.39 ด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.82 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.41 สำหรับด้านความมีประโยชน์ ครูมีความคิดเห็นว่ารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา มีประโยชน์ต่อนักเรียน ครู โรงเรียน และชุมชน ร้อยละ 100
    3.3 ความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา ด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.73 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.45 ด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.63 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 ด้านความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.63 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.49 สำหรับด้านความมีประโยชน์ คณะกรรมการบริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นว่ารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา มีประโยชน์ต่อนักเรียน ครู โรงเรียน และชุมชน
ร้อยละ 100
4. ผลการประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา พบว่ารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา จังหวัดสงขลา ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกข้อ





seri.in1967 12 ธ.ค. 2564 เวลา 07:34 น. 0 403
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^