LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา

การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง    การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้
    และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านศาลาน้ำ
ผู้รายงาน    นายปรีชา ปานนุ่ม
สถานศึกษา    โรงเรียนบ้านศาลาน้ำ
ปีการศึกษา    2563

บทคัดย่อ

    การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนบ้านศาลาน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา 2) ดำเนินการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา 3) ประเมินผลกระบวนการของการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา 4) รายงานผลการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา และ 5) ประเมินผลสำเร็จในด้านความพึงพอใจของการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ครู จำนวน 13 คน นักเรียน จำนวน 108 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 108 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 238 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตาราง Selection of Sample Size ของ Darwin Hendel เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็น แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1ฉบับ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 38 ข้อ ได้ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.50 - 0.91 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.968 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเอฟ (One - Way Analysis of Variance)
ผลการศึกษาพบว่า
    1.    การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา มีทางเลือกในการแก้ปัญหาได้ 3 ด้าน คือ ด้านกายภาพ ด้านวิชาการ และด้านการบริหารจัดการ
    2.    การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ด้านกายภาพ ดำเนินการพัฒนาในด้านอาคารเรียน ห้องเรียน และห้องพิเศษ อาคารประกอบการกำจัดขยะมูลฝอย และการปรับปรุงภูมิทัศน์ เป็นต้น
    3.    ผลการดำเนินงาน การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ ด้านความรู้ และด้านคุณธรรมจริยธรรม
    4.    ผลการตรวจสอบการดำเนินงาน ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา พบว่า มีความเหมาะสมของการดำเนินงานตามโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดรายด้าน พบว่า การพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
    5.    การตรวจสอบความพึงพอใจ ประเมินผลผลิตเมื่อสิ้นสุดแผนการดำเนินงาน (Process Evaluation) การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
    6.    เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา พบว่า นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีระดับความพึงพอใจในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาทุกด้านต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย ครูมีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาด้านกายภาพสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างอื่นทุกด้าน
    ข้อเสนอแนะ
    จากการศึกษารายงานการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ผู้รายงานมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
    1.    การนำผลรายงานการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาไปใช้
        1.1    การจัดทำโครงการการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ทั้งในด้านกายภาพ ด้านวิชาการ และด้านการบริหารจัดการ ควรจัดทำเป็นโครงการต่อเนื่อง โดยกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และควรเป็นบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมทางด้านวิชาการ และด้านการบริหารจัดการ เพราะผลการพัฒนาด้านดังกล่าว จะส่งผลต่อนักเรียนโดยตรง ทำให้เกิดทักษะการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะ ตามเป้าหมายของหลักสูตร
        1.2    ในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา ควรทำความเข้าใจกับบุคลากรในโรงเรียน เพื่อให้เห็นความสำคัญและความร่วมมือไปในทิศทางเดียวกัน ประกอบกับการวางแนวปฏิบัติในการดำเนินงานอย่างชัดเจน และพัฒนาบุคลากรให้สามารถนำความรู้และทักษะไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


    2.     ข้อเสนอแนะในการศึกษา
        2.1    ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้รายงานได้ประเมินผลผลิตจากการสอบถามความคิดเห็นความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการศึกษาของโรงเรียน ดังนั้นจึงควรมีการประเมินผลจากบุคคลอื่น เช่น ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการ หรือบุคคลในองค์กรต่างๆ ในชุมชน ซึ่งมีส่วนในการร่วมพัฒนาและจัดการศึกษาของโรงเรียน
        2.2    การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษานี้ ผู้รายงานดำเนินการตามขั้นตอน โดยเริ่มจากการสำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ จำเป็น การวิเคราะห์ทางเลือกในการแก้ปัญหา การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม และวางแผนการแก้ปัญหา การดำเนินงานตามแผนโครงการ และการประเมินผลสำหรับผู้ที่สนใจจะศึกษาเกี่ยวกับ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา อาจนำวิธีการและกระบวนการไปประยุกต์ปรับใช้ตามความเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนได้
        2.3    การดำเนินการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียน ควรนำหลักการมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนมีบทบาทในการบริหารจัดการ ทั้งด้านกายภาพ ด้านวิชาการ และด้านการบริหารจัดการ พร้อมสรุปข้อมูลเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาในด้านอื่นๆ ต่อไป















tvpppm2 07 ธ.ค. 2564 เวลา 17:52 น. 0 482
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^