LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

ชื่อเรื่อง กระบวนการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน

usericon

ชื่อเรื่อง กระบวนการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนเพื่อ
เตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ
ผู้วิจัย นางภาณัททกา วงษากิตติกุล
ปีที่ทำการวิจัย 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal
Competencies) ของผู้เรียนในการเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ
2) เพื่อพัฒนาและทดลองใช้กระบวนการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของ
ผู้เรียนในการเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ 3) เพื่อนำไปใช้และ
ประเมินผลกระบวนการ พัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนในการเข้าสู่
โลกการทำงาน (Work Readiness) วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน
(mixed methodology) โดยแบ่งขั้นตอนการวิจัย เป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษากรอบสมรรถนะข้ามสายงาน
ของผู้เรียนวิทยาลัยการอาชีพ นวมินทราชูทิศในการเข้าสู่โลกการทำงาน ระยะที่2การพัฒนาและทดลองใช้
กระบวนการพัฒนา สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการ
ทำงาน (Work Readiness) วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ ระยะที่ 3 การประเมินผลการใช้
กระบวนการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนเพื่อเตรียมความ
พร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) ผลการวิจัยพบว่า 1.กรอบสมรรถนะข้ามสายงานทักษะใน
ศตวรรษที่ 21และทักษะที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานของผู้เรียนอาชีวศึกษาที่ภาคประกอบการต้องการ
ผู้วิจัยได้สังเคราะห์สมรรถนะข้ามสายงานของผู้เรียน ประกอบด้วย 1) ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 2)
ความสามารถในการคิด 3) ความสามารถในการแก้ปัญหา 4) ความสามารถในการสื่อสาร และ 5)
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี2. การศึกษาความพร้อมของครูในการสมรรถนะข้ามสายงานของผู้เรียน
พบว่าครูมีความต้องการพัฒนาตนเองในเรื่อง กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) อยู่ใน
ระดับมาก รองลงมาทักษะทักษะด้านคอมพิวเตอร์ (Computing Literacy) 3. การศึกษาสมรรถนะข้ามสาย
งานของผู้เรียน ก่อนใช้กระบวนการพัฒนาพบว่าสมรรถนะข้ามสายงานของผู้เรียน อยู่ในระดับปานกลาง ผล
การพัฒนากระบวนการ พัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนเพื่อเตรียม
ความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) พบว่าความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับ
มากที่สุด 3. การทดลองใช้กระบวนการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของ
ผู้เรียนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) พบว่าทุกขั้นตอนในกระบวนการมี
ความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 4. การประเมินผลกระบวนการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal
Competencies) ของผู้เรียนเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) พบว่า
กระบวนการพัฒนาสมรรถนะข้ามสายงาน (Transversal Competencies) ของผู้เรียนเพื่อเตรียมความ
พร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน (Work Readiness) มีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิผล ซึ่ง
ประกอบด้วย 1) ผลการพัฒนาสมรรถนะข้าสายงานของผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของผู้เรียนปีการศึกษา 2563 ผู้เรียนผ่านระดับคะแนนเฉลี่ย 2.00 ร้อยละ 92.69 3) ผลการ
ทดสอบ V-net ของผู้เรียนค่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติผู้เรียนผ่านร้อยละ 83.96 4) ผลการพัฒนานวัตกรรม
สิ่งประดิษฐ์ของครูและผู้เรียน มีผลงานเผยแพร่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ระดับภาคและสามารถเขียน
ข้อเสนอเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก 5) วัฒนธรรมองค์กร ความตระหนักด้านความ
ปลอดภัย ผลจากการดำเนินการด้านความปลอดภัยดำเนินการอย่างสม่ำเสมอกระทั่งได้ผลลัพธ์ตามเกณฑ์การ
ประเมินตามโครงการขับขี่ปลอดภัย ได้รับรางวัลเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานภายนอก 6) ความพึงพอใจของ
สถานประกอบการที่ทำความร่วมมือกับสถานศึกษาในการจัดอาชีวศึกษาที่มีต่อสมรรถนะข้ามสายงานของ
ผู้เรียน วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชูทิศ มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
@NWM2536 01 ธ.ค. 2564 เวลา 11:22 น. 0 656
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^