LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567‘สิริพงศ์’ แจงชัดประกาศยกเว้น/ผ่อนผันแต่งเครื่องแบบนักเรียน เพื่อลดความเดือดร้อนผู้ปกครอง ไม่ได้สั่งยกเลิกชุดนักเรียน 18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

usericon

ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าด่าน
ผู้รายงาน นางสาวนิรอปีสะ สาแม
ตำแหน่งครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านท่าด่าน อำเภอยะหริ่ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 1

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าด่าน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าด่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าด่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าด่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านท่าด่าน อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 1 จำนวน ๑๙ คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โดยการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้รูปแบบการวิจัยที่มีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว ดำเนินการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน OneGroup Pretest-Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 เล่ม 32 แบบฝึก 2) แผนการจัดการเรียนรู้การใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 22 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ข้อ
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ (E1 ) เท่ากับ 90.92 และประสิทธิภาพหลังฝึก (E2) เท่ากับ 89.30 แสดงว่าแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยากมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของแบบฝึกส่งผลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้เกิดจากการฝึกฝนและได้ลงมือปฏิบัติจริงซ้ำ ๆ หลายๆ ครั้งจะเกิดความชำนาญและมีประสิทธิภาพ
๒. เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและการเขียนคำยาก ก่อนการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน หมายความว่าหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก นักเรียนมีความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากได้ดีขึ้น แสดงว่าแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก มีผลต่อการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนคำยากสูงขึ้น คือนักเรียนการอ่านและการเขียนคำยาก ได้ถูกต้อง
๓. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำยาก กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าด่าน มีค่าเท่ากับ 4.67 สรุปได้ว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Niropisah.s 06 ต.ค. 2564 เวลา 15:42 น. 0 399
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^