LASTEST NEWS

19 พ.ค. 2567(ไม่ต้องผ่าน ภาค ก) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับสมัครพนักงานราชการ 8 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรี ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 18 พ.ค. 2567‘สิริพงศ์’ แจงชัดประกาศยกเว้น/ผ่อนผันแต่งเครื่องแบบนักเรียน เพื่อลดความเดือดร้อนผู้ปกครอง ไม่ได้สั่งยกเลิกชุดนักเรียน 18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน”

การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนที่เน้นภาระงานและโครง

usericon

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการการสอนวิชาภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนที่เน้นภาระงานและโครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดสว่างคงคา
ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนที่เน้นภาระงานและโครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดสว่างคงคา โดยเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนก่อนและหลังการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนและความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดสว่างคงคา ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียนโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์ ก่อน ระหว่างและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนและแบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่แบบไม่อิสระและแบบอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัย พบว่า
        1. รูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนที่เน้นภาระงานและโครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อว่า “ PAPA Model” มีองค์ประกอบ 6 ประการคือ หลักการ เนื้อหา กิจกรรม บทบาทของผู้เรียน บทบาทผู้สอน และการจัดสภาพการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการรับภาระงาน (Preparation: P) 2) ขั้นวิเคราะห์และฝึกทักษะตามภาระงาน (Analysis: Reading task, Language Focus & Practice :A) 3) ขั้นสร้างโครงงาน และการนำเสนอโครงงาน (Project Creation :P) 4) ขั้นประเมินการนำเสนอโครงงานและความคิดสร้างสรรค์ของโครงงาน (Assessment of Creative Projects: A) โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนามีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.08/ 82.22
        2. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน ( PAPA Model) กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
        3. ความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มตัวอย่างหลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน (PAPA Model) มีพัฒนาการสูงขึ้น
        4. ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน (PAPA Model) โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
pangkhaso 11 ก.ย. 2564 เวลา 18:54 น. 0 498
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^