LASTEST NEWS

19 พ.ค. 2567(ไม่ต้องผ่าน ภาค ก) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับสมัครพนักงานราชการ 8 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรี ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 18 พ.ค. 2567‘สิริพงศ์’ แจงชัดประกาศยกเว้น/ผ่อนผันแต่งเครื่องแบบนักเรียน เพื่อลดความเดือดร้อนผู้ปกครอง ไม่ได้สั่งยกเลิกชุดนักเรียน 18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน”

การพัฒนาสาระการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการประยุกต์ใช้คว

usericon

ชื่อเรื่อง     : การพัฒนาสาระการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์”
จังหวัดสุรินทร์
ผู้วิจัย     : สุภาพร ศรีศิลา, โรงเรียนเทศบาล 3 “เทศบาลอนุสรณ์” อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ปีการศึกษา 2562.

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการประยุกต์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 3) ทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีขั้นตอนในการวิจัย ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อการประยุกต์ในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ -คณิตศาสตร์ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความต้องการเนื้อหาสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (Percentage)
ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของนวัตกรรมการเรียนรู้ และนักเรียนจำนวน 43 คน เพื่อศึกษาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 นวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) การหาค่า IOC และการหาประสิทธิภาพโดยการใช้สูตร /


ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้การทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 29 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบประเมินทักษะความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อการปฏิบัติงาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และ ค่าร้อยละ (Percentage)
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวันชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักเรียนต้องการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร สารที่จำเป็นต้องใช้ทำความสะอาดบ้านของเรา การใช้จุลินทรีย์ในการหมักอาหาร การย้อมหมี่มัดไหมผ้าพื้นเมืองสุรินทร์ การประดิษฐ์เครื่องฉีดน้ำอเนกประสงค์(เครื่องพ่นยาในนาข้าว) และการอนุรักษ์ดินเพื่อการปลูกข้าวหอมมะลิสุรินทร์และเสนอแนะให้จัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติงานและเนื้อหาความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน
2. แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตเรื่องการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวน 12 แผน 24 ชั่วโมง กำหนดขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 2 รูปแบบคือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานและเน้นพัฒนาความรู้ ความเข้าใจสาระการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการนำความรู้วิทยาศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ซี่งแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมอในระดับมากที่สุดและมีองค์ประกอบสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่กำหนดทุกด้านและมีประสิทธิภาพ 81.52/81.17 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. นักเรียนมีทักษะความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ พฤติกรรมของนักเรียนระหว่างเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด


siriluxswu32 10 ก.ย. 2564 เวลา 20:30 น. 0 531
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^