LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

usericon

บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ             YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ            ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย        นางสาวยะฮารา มะดีเยาะ
ปีการศึกษา    2562


    การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ
2.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL ก่อนและหลังเรียน 2.2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODELก่อนและหลังเรียน และ2.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้หลังการเรียนตามรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปัตตานี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม มีนักเรียน จำนวน 26 คน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยในลักษณะของงานวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ที่มีลักษณะเป็นแบบแผนเชิงผสมผสานแบบรองรับภายใน (The Embedded Design) ด้วยวิธีการเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) เสริมด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) และใช้แบบแผนการทดลองแบบทดสอบกลุ่มเดียวสอบก่อน-หลัง (The One Group Pretest-Posttest Design) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) พบว่า
    1. รูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 องค์ประกอบของรูปแบบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ เน้นที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นเองอย่างเป็นระบบ และผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมที่เน้นการร่วมมือกันเรียนรู้
2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 เตรียมพร้อม (Y : Yare) ขั้นที่ 2 เชื่อมโยง (A: Associate) ขั้นที่ 3 ช่วยเหลือ (H: Help) ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ (A: Analyses) ขั้นที่ 5 ทบทวน (R: Review) ขั้นที่ 6 สรุป
(A: Abstract) 4) การวัดและประเมินผล 2 ด้าน คือ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ 5) เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ประกอบด้วยผู้เรียนต้องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีความรับผิดชอบ และมุ่งมั่นในการทำงาน รวมทั้งภาระงานที่มอบหมายให้ผู้เรียนต้องท้ายทายความสามารถของผู้เรียน มีความเหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา ผลการหาค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ E1/E2 กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 80.35/81.52
    2. ประสิทธิผลรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสรุปดังนี้
        2.1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ .01
        2.2 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถติที่ .01
        2.3 นักเรียนมีความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้หลังการเรียนตามรูปแบบการสอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวของ YAHARA MODEL โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ("X" ̅ = 4.59, S.D = 0.66)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^