LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

ผลการจัดการเรียนรู้เทคนิคSTAD ประกอบCAI ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา_ณฐมน

usericon

วิจัยเรื่อง:    ผลการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
        การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถม
        ศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมรรถนะดิจิทัลและความพึงพอใจ
ผู้วิจัย:    นางณฐมน ทรงเจริญ
ตำแหน่ง:    ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
        สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
ปีที่วิจัย:    2561

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ได้แก่ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) เพื่อศึกษาสมรรถนะดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 36 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนในการสุ่ม ซึ่งแต่ละห้องเรียนมีความสามารถในการเรียนวิชาภาษาไทยไม่แตกต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา จำนวน 8 หน่วย 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 หน่วย หน่วยละ 4 แผนรวม 32 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบคู่ขนานมี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.73 ทั้ง 2 ฉบับ 4)แบบประเมินสมรรถนะดิจิทัล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ ในการเรียน จำนวน 10 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า เท่ากับ 0.802 โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
    ผลการวิจัย พบว่า
        1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 87.05/83.06 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
        2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้งภาพรวมและรายหน่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        3. สมรรถนะดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่ระดับมาก (x-bar=4.44)
        4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar=4.18)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^