LASTEST NEWS

19 พ.ค. 2567(ไม่ต้องผ่าน ภาค ก) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับสมัครพนักงานราชการ 8 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรี ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 18 พ.ค. 2567‘สิริพงศ์’ แจงชัดประกาศยกเว้น/ผ่อนผันแต่งเครื่องแบบนักเรียน เพื่อลดความเดือดร้อนผู้ปกครอง ไม่ได้สั่งยกเลิกชุดนักเรียน 18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน”

การประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา

usericon

ชื่อเรื่อง         การประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา
ชื่อผู้วิจัย         นายสราวุธ สมรัตน์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่รายงาน 2562

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    การวิจัยในครั้งนี้เป็นการรายงานการประเมินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ ( Process Evaluation) และ 4) ประเมินด้านผลผลิต ( Product Evaluation) โดยขยายการประเมินด้านผลผลิตออกเป็น 4 ด้าน คือ 4.1) ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) 4.2) ด้านประสิทธิผล(Effectiveness Evaluation) 4.3) ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) 4.4) ด้านความสามารถในการขยายผล (Transportability Evaluation) ทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา ส่งเสริมความสำเร็จ ในการดำเนินงานตามโครงการ โดยทำการประเมินกับประชากร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 25 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 106 คน นักเรียน จำนวน 106 คน รวมทั้งสิ้น 248 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เกี่ยวกับ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนตามโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เกี่ยวกับ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนตามโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เกี่ยวกับ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา บรรยายสรุปในเชิงพรรณนา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
    ผลการประเมิน พบว่า
    1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการ รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแนวทางการบริหารโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
        2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับแนวทางการบริหารโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และผู้บริหารสถานศึกษาอำนวยความสะดวก ปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยต่างๆให้มีความพร้อมในการปฏิบัติ รองลงมาคือ คู่มือการดำเนินโครงการมีรายละเอียดชัดเจน เข้าใจง่าย นำไปปฏิบัติได้ และโรงเรียนมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมนำไปสู่การปฏิบัติ

        3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ
     3.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ มีการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม มีการประชุม เสวนา ทบทวนหลังการปฏิบัติงาน (After Action Review : AAR) และนำผลมาพัฒนาการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ มีการติดตามประเมินผลและรายงานผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และมีการปรับโครงสร้างเวลาเรียนและจัดทำตารางเรียนเหมาะสมกับการจัดกิจกรรม กำหนดกิจกรรมได้ตอบสนองความต้องการและศักยภาพของผู้เรียน
        3.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ปกครองได้รับทราบ รองลงมาผู้ปกครองเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการ และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมของโครงการ
        3.3 ในภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และการดำเนินงานในกิจกรรมของโครงการ รองลงมาคือ 4 โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์โครงการให้นักเรียนได้รับทราบ และนักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดการประเมินผลโครงการ
    4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ
    4.1 ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation)
    4.1.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ส่งเสริมการบรรลุตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียนที่ว่า “โรงเรียนร่มโพธิ์วิทยา จัดการศึกษามุ่งสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม”รองลงมาคือ สร้างบรรยากาศที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และส่งเสริมให้นักเรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด
    4.1.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง และได้มีส่วนร่วมในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมแก่นักเรียน รองลงมาได้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่นักเรียน ได้มีส่วนร่วมในการปลูกจิตสำนึกการทำประโยชน์ต่อสังคมให้แก่นักเรียน และมีโอกาสส่งเสริม สนับสนุน การใช้แหล่งเรียนรู้แก่นักเรียน
    4.1.3 ในภาพรวม นักเรียน มีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ทำให้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ค้นหาความถนัด และความต้องการของตนเอง ทำให้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ค้นหาความถนัด และความต้องการของตนเอง รองลงมาคือ ทำให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้อย่างมีความสุข และทำให้ข้าพเจ้าได้ฝึกฝน และพัฒนาเพิ่มพูนความสามารถของตนเอง ส่งเสริมให้ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ทำให้ข้าพเจ้าเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน การมีน้ำใจ และการช่วยเหลือกัน
    4.2 ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation)
    4.2.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ รองลงมาคือ นักเรียนรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ นักเรียนรู้จักปรับตัวในการดำรงชีวิตในสังคม นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีเจตคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพ และนักเรียนรู้จักการทำงานเป็นทีม นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และสนุกกับการเรียนรู้
    4.2.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ รองลงมาคือ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ นักเรียนมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น และนักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และสนุกกับการเรียนรู้
    4.2.3 นักเรียน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านประสิทธิผลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านย่อย พบว่า ด้านย่อยที่ 1) การบรรลุตามวัตถุประสงค์โครงการ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข และสนุกกับการเรียนรู้ รองลงมาคือ นักเรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ตามความสนใจ ความชอบ และความถนัด และนักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ นักเรียนรู้จักปรับตัวในการดำรงชีวิตในสังคม นักเรียนเกิดการพัฒนาในองค์ 4 แห่งการเรียนรู้ ด้านย่อยที่ 2) ผลการพัฒนานักเรียนใน 4 ด้าน (4 H) ในกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ 8 กิจกรรม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกกิจกรรม เรียงลำดับกิจกรรมที่มีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ กิจกรรมหุ่นยนต์อัตโนมัติ กิจกรรมดนตรีพื้นบ้าน และกิจกรรมอาหารคาวหวานไทยประยุกต์
        4.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation)
    4.3.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนจัดสรรงบประมาณในการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดเป็นนโยบาย ให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินโครงการของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนนำแนวนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้มาเป็นนโยบายหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนมีการวัด ประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ครูผู้รับผิดชอบโครงการมีการรายงานผลการดำเนินโครงการตามสภาพจริง และโรงเรียนจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ วิทยากร ครูผู้รับผิดชอบอย่างเพียงพอ ต่อเนื่อง
    4.3.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดเป็นนโยบาย ให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือ โรงเรียนนำแนวนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้มาเป็นนโยบายหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน และครูผู้สอนมีการวัด ประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง
    4.3.3 ในภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ครูผู้สอนมีการวัด ประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง รองลงมาคือ หน่วยงานต้นสังกัดกำหนดเป็นนโยบาย ให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินโครงการของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และโรงเรียนนำแนวนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้มาเป็นนโยบายหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน
    4.4 ด้านความสามารถในการขยายผล (Transportability Evaluation)
    4.4.1 ในภาพรวม ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ โรงเรียนมีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ครอบคลุมความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชน รองลงมาคือ โรงเรียนมีจุดเด่นและเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินโครงการ และนักเรียนสามารถบูรณาการความรู้และทักษะต่างๆไปสู่การปฏิบัติจริงได้
    4.4.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็น รายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนสามารถความรู้และทักษะต่างๆไปแนะนำและถ่ายทอดให้เพื่อนและคนในครอบครัวได้ รองลงมาคือ นักเรียนสามารถบูรณาการความรู้และทักษะต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติจริงได้ และโรงเรียนมีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ครอบคลุมความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชน
    4.4.3 ในภาพรวม นักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ นักเรียนสามารถบูรณาการความรู้และทักษะต่างๆไปสู่การปฏิบัติจริงได้ รองลงมาคือนักเรียนสามารถความรู้และทักษะต่างๆไปแนะนำและถ่ายทอดให้เพื่อนและคนในครอบครัวได้ และโรงเรียนมีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ครอบคลุมความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^