LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567‘สิริพงศ์’ แจงชัดประกาศยกเว้น/ผ่อนผันแต่งเครื่องแบบนักเรียน เพื่อลดความเดือดร้อนผู้ปกครอง ไม่ได้สั่งยกเลิกชุดนักเรียน 18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศ

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทย
สร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย        นางสาวจิรวรรณ ยิ่งขจร
ปีการศึกษา    2563

    การพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 1.1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 1.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 1.3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในกลุ่มขยายผล 2.2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในกลุ่มขยายผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดชนาธิปเฉลิม) เทสบาลเมืองสตูล ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 35 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผลการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล ๔ ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยรูปแบบการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่แบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา





    ผลการวิจัย พบว่า
    1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง” กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ JOESH Model ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ JOESH Model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Juicy : J) ขั้นที่ 2 ขั้นสอน (Operate : O) ขั้นที่ 3 ฝึกฝนนักเรียน (Educate : E) ขั้นที่ 4 สรุปความรู้ (Sum up : S) ขั้นที่ 5 การนำไปใช้ (Handle : H) ผลการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ได้ค่าความเหมาะสม/สอดคล้องมีค่าเฉลี่ย ( ) ตั้งแต่ 4.60 – 4.80 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ตั้งแต่ 0.43 – 0.55 ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง”โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ JOESH Model กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม/สอดคล้องเชิงโครงสร้าง สามารถนำไปทดลองใช้ได้และผลการหาประสิทธิภาพ (E1 / E2) โดยการทดลองภาคสนาม (Field Tryout) พบว่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง” โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ JOESH Model กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 83.28 / 82.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
    2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง” โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ JOESH Model กลุ่มสาระเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีดังต่อไปนี้
        2.1 หลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง” โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ JOESH Model กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยภาพอยู่ในระดับสูงมากและสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        2.2 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง”กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ : นาฏศิลป์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ JOESH Model ในภาพรวมผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.62)
    3. ผลการขยายผลหลังการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการรำนาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ “ระบำบุหงากาหลง” โดยใช้ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ JOESH Model พบว่า
        3.1 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก และสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
        3.2 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ในภาพรวม ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.56)
sigh7692 19 ส.ค. 2564 เวลา 05:40 น. 0 308
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^