LASTEST NEWS

13 พ.ค. 2567รมว.กระทรวงศึกษาธิการ ลงนาม แนวทางการปฏิบัติตามนโยนายกระทรวงศึกษาธิการ เน้นย้ำ โครงการกิจกรรมต่าง ๆ เรียบง่าย ประหยัด พอเพียง ไม่ต้องผูกผ้า ไม่ต้องติดป้ายต้อนรับ 13 พ.ค. 2567ศธ.ย้ำเปิดเทอมใหม่สภาพรถรับส่ง นร.ต้องได้มาตรฐาน 13 พ.ค. 2567ศธ.เล็งปรับเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัว รร.ขนาดเล็ก 13 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลป่าโมก (วัดโบสถ์สายทอง) รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 7,000 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 17 พ.ค.2567 12 พ.ค. 2567โรงเรียนบ้านสันทรายมูล รับสมัครครูผู้สอนระดับปฐมวัย เงินเดือน 7,000 บาท  12 พ.ค. 2567ผลตรวจ TCAS67 พบข้อสอบผิดพลาด 6 ข้อ ปรับแก้คะแนนผู้เข้าสอบแล้ว 12 พ.ค. 2567สพฐ.หนุนตั้งศูนย์การเรียนสำหรับเด็กในรพ. 77 จังหวัด 11 พ.ค. 2567โรงเรียนบ้านดอนกรูด ปีการศึกษา 2567 ติดแอร์ทุกห้องเรียน 11 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 11 พ.ค. 2567สพม.นครราชสีมา ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาฯ

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง
ผู้วิจัย นายสุเทพ สังข์วิเศษ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
ปีการศึกษา 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง มีขั้นตอนดำเนินการการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบ การบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า
1.1 สภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ทุกด้านโดยรวม พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการปฏิบัติการ มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รองลงมาได้แก่ ด้านการตัดสินใจ และด้านการประเมินผล ด้านการปรับปรุงแก้ไข โดยด้านการวางแผนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
1.2 สรุปสภาพและแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ได้หลักการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง 10 หลักการ ประกอบด้วย หลักความพอประมาณ หลักความมีเหตุผล หลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หลักการพึ่งตนเอง หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ
และหลักความคุ้มค่า และกระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการตัดสินใจ ด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติการ ด้านการประเมินผล และด้านการปรับปรุงแก้ไข
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า
2.1 ร่างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งประกอบด้วย 4 ภารกิจหลัก คือ การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป องค์ประกอบด้านหลักการบริหารจัดการสถานศึกษา ประกอบด้วย หลักธรรมาภิบาล และหลักการบริหารโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักธรรมาภิบาล 6 ประการ ได้แก่ หลักคุณธรรม (Ethics) หลักนิติธรรม (Rules of Law) หลักความโปร่งใส (Transparency) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) และหลักความคุ้มค่า (Value of Money) หลักการบริหารโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย หลักความพอประมาณ หลักความมีเหตุผล หลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หลักการพึ่งตนเอง และหลักการพึ่งตนเอง (Self-sufficiency) องค์ประกอบด้านกระบวนการบริหาร 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ (Decision - making – D) ด้านการวางแผน (Planning - P) ด้านการปฏิบัติการ (Operating - O) ด้านการประเมินผล (Evaluating - E) และด้านการปรับปรุงแก้ไข (Appropriate acting - A)
2.2 ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า องค์ประกอบด้านหลักการบริหาร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า หลักความคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุดรองลงมา หลักการการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและหลักความโปร่งใส มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนองค์ประกอบด้านกระบวน- การบริหาร ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการปรับปรุงแก้ไข มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการตัดสินใจ และด้านการวางแผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2.3 ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า องค์ประกอบด้านหลักการบริหาร ในภาพรวมองค์ประกอบด้านหลักการบริหาร มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า หลักคุณธรรม (Ethics) หลักนิติธรรม (Rules of Law) และหลักการมีส่วนร่วม (Participation) มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา หลักการพึ่งตนเอง มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และหลักความพอประมาณ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยต่ำ สุด ส่วนผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง องค์ประกอบด้านกระบวน- การบริหาร ในภาพรวมองค์ประกอบด้านกระบวนการ พบว่า มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการปรับปรุงแก้ไข มีความเป็น ไปได้อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้าน-การตัดสินใจ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และด้านการปฏิบัติการ มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2.4 การนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ฉบับสมบูรณ์ ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 วัตถุประสงค์ แนวคิด และหลักการของรูปแบบ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ส่วนที่ 3 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ และ ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง
ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง โดยรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารจัดการสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า
4.1 ผลการประเมินประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง โดยรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้าน โดย เรียงลำดับดังนี้ ด้านการบริหารทั่วไป ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารวิชาการ
4.2 ผลการประเมินประสิทธิผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า ผลการประเมินตนเองการประกันคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง สรุปได้ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนมีระดับคุณภาพดีเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการของผู้บริหารสถานศึกษา ระดับคุณภาพดีเยี่ยม มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ระดับคุณภาพดีเยี่ยม และมาตรฐานที่ 4 ระบบการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ ระดับคุณภาพดีเยี่ยม
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อผลผลิต/ผลลัพธ์ของการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ในภาพรวม มีความพึงพอใจในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านบุคลากรของสถานศึกษา และด้านผู้เรียน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ซึ่งทั้ง 4 ด้าน มีความพึงพอใจในระดับมากทุกด้านสอดคล้องกัน
sutep 27 พ.ค. 2564 เวลา 15:00 น. 0 528
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^