LASTEST NEWS

11 พ.ค. 2567โรงเรียนบ้านดอนกรูด ปีการศึกษา 2567 ติดแอร์ทุกห้องเรียน 11 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 11 พ.ค. 2567สพม.นครราชสีมา ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 10 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 17 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครพนม เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 18 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 11 พ.ค. 2567สพป.นครพนม เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

ผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

usericon

ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง
ผู้ประเมิน นายสุเทพ สังข์วิเศษ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
ปีการศึกษา 2562-2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 3) เพื่อสรุปแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ในปีการศึกษา 2562-2563 ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563
1.1 ผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562 สรุปได้ดังนี้
1.1.1 ผลการประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) มีความเหมาะสมในระดับมาก
1.1.2 ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) มีความพร้อม ในระดับปานกลาง
1.1.3 ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) มีการปฏิบัติในระดับปานกลาง ในส่วนผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา พบว่า ด้านที่ 1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 3.50
1.1.4 ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรของโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นว่าผลผลิต (Product) มีการปฏิบัติในระดับมาก ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ด้านผลผลิต (Product) คะแนนรวมเฉลี่ยด้านที่ 5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ได้คะแนน 3.95 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรของโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงในระดับมาก นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับเข้าใจดีมาก และมีเจตคติต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้สึกเป็นกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 54.06
1.2 ผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2563 สรุปได้ดังนี้
1.2.1 ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) มีความพร้อมในระดับมาก
1.2.2 ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) มีการปฏิบัติในระดับมาก ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ในภาพรวม พบว่า ด้านที่ 1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.00
1.2.3 ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรของโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นว่าผลผลิต (Product) มีการปฏิบัติในระดับมาก ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ด้านผลผลิต (Product) คะแนนรวมเฉลี่ยด้านที่ 5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ได้คะแนน 4.00 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรของโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียง ในระดับมาก นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับเข้าใจดีมาก และมีเจตคติต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้สึกเชิงบวก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 71.29
2. การเปรียบเทียบผลการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 สรุปได้ ดังนี้
2.1 ผลการเปรียบเทียบความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้น (Input) การดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานและบุคลากรของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ ในภาพรวม พบว่า ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยปี 2562-2563 มีค่าสูงขึ้นทุกด้าน โดยในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น 0.94
2.2 ผลการเปรียบเทียบการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ปีการศึกษา 2562-2563
2.2.1 การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการ (Process) การดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์-วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของบุคลากรของโรงเรียนปาโมกข์-วิทยาภูมิ ในภาพรวมระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการ (Process) มีค่าสูงขึ้นทุกด้าน
2.2.2 ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ด้านกระบวนการ (Process) มีค่าสูงขึ้นทุกด้าน
2.3 ผลการเปรียบเทียบผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ปีการศึกษา 2562-2563
2.3.1 การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิต (Product) การดำเนินงานสถานศึกษาพอเพียงของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บุคลากรของโรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562 ทุกองค์ประกอบ สอดคล้องกัน
2.3.2 ผลการเปรียบเทียบผลการประเมินตนเองของการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ด้านผลผลิต (Product) ปีการศึกษา 2562-2563 พบว่า ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น
2.3.3 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ
บุคลากรของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ ในภาพรวม
พบว่า ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยปีการศึกษา 2562-2563 มีค่าสูงขึ้นทุกด้าน
2.3.4 ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ ในภาพรวม พบว่า มีค่าสูงขึ้นทุกด้าน
2.3.5 ผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ของปีการศึกษา 2562 กับ ปีการศึกษา 2563 หลังการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง พบว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของปีการศึกษา 2563 สูงกว่าปีการศึกษา 2562
2.3.6 ผลการเปรียบเทียบระดับเจตคติที่มีต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปีการศึกษา 2562-2563 ในภาพรวม พบว่า นักเรียนมีระดับเจตคติที่มีต่อหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ปี-การศึกษา 2562 มีค่าเฉลี่ย 54.06 มีความรู้สึกเป็นกลาง ส่วนปีการศึกษา 2563 มีค่าเฉลี่ย 71.29 มีความรู้สึกเชิงบวก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น 17.23 สูงกว่าปีการศึกษา 2562
3. แนวทางการดำเนินการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) ของโรงเรียนปาโมกข์วิทยาภูมิ จังหวัดอ่างทอง ในปีการศึกษา 2562-2563 สรุปได้ ดังนี้
3.1 ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา มีการกำหนดนโยบายน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยกำหนดเป็น วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนปฏิบัติการประจำปีที่ชัดเจน มีการดำเนินการโครงการและกิจกรรม ให้สอดรับกับความต้องการของโรงเรียน มีการนำผลการติดตามมาพัฒนานโยบาย แผนงาน/โครงการให้ดียิ่งขึ้น มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นำผลการติดตามไปพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษามีการวางแผนการจัดสรรงบประมาณอย่างคุ้มค่าตามแผน- ปฏิบัติการประจำปี การเบิกจ่ายงบประมาณ การรายงาน มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการจัดสภาพแวดล้อม แหล่งเรียนรู้ ภายในโรงเรียน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยจัดทำเป็นฐาน ประสานงานกับชุมชน นำข้อมูลที่เป็นปัญหา และจุดอ่อนในปีการศึกษาที่ผ่านมา ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดผลการดำเนิน- งานที่มีคุณภาพมากที่สุด
3.2 ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอนจัดทำหลักสูตรจัดการเรียนการสอน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และมีการนิเทศติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่องจัดให้ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดทำแผนการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามมาตรฐานการเรียนรู้สู่การเรียนการสอน โดยจัดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม มีการวัดผลการเรียนรู้ จัดทำสื่อและแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างหลากหลาย มีการจัดทำเครื่องมือวัดผลสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในโรงเรียนระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้จัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
3.3 ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่เข้มแข็งมีการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน เพื่อส่งเสริมพัฒนากิจกรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างหลากหลาย จัดกิจกรรมลูกเสือ - เนตรนารี กิจกรรมชุมนุมที่หลากหลาย ตามความสนใจของนักเรียนโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้นักเรียนได้เลือกกิจกรรมตามความ-สนใจ ความถนัด
3.4 ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา โรงเรียนดำเนินงานจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน มีการประชุมให้ความรู้สร้างความเข้าใจภายในโรงเรียน ให้ทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งครูเข้าร่วมอบรมจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงน้อมนำมาปฏิบัติในสถานศึกษามีการติดตามผลการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม อย่างเป็นรูปธรรม ให้มีการสรุปรายงานโครงการ/กิจกรรม อย่างครบถ้วน มีการนิเทศ ติดตาม นำผลการพัฒนามาเผยแพร่ แก่บุคลากรและชุมชน เช่น การประชุมตามวาระต่าง ๆ
3.5 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ สถานศึกษาสะอาด เป็นระเบียบ ร่มรื่น มีความปลอดภัย มีแหล่งเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ครูและบุคลากรและนักเรียน มีความสามัคคี ช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีแหล่งเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้บริหาร มีความรู้ ความเข้าใจและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติตน อย่างเป็นเหตุเป็นผล พอประมาณกับศักยภาพของตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้คุณธรรมนำความรู้ในการดำเนินชีวิต รวมทั้งการบริหารจัดการการศึกษา มีความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและภายนอก ชุมชน และหน่วยงานภายนอกเห็นคุณค่า ยอมรับและให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
sutep 30 เม.ย. 2564 เวลา 09:16 น. 0 379
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^