LASTEST NEWS

08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 21 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 08 พ.ค. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 45 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ชุมพร เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 76 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ชุมพร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 61 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

ประเมินโครงการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ โรงเรียนบ้านห้วยเหลือง

usericon

เรื่องที่ศึกษา    ประเมินโครงการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ โรงเรียนบ้านห้วยเหลือง
         สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1
ผู้รายงาน      นางสาววรัฉรีย์ เกตุขำ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านป่ายางตะวันตก
ปีที่ศึกษา      2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ โรงเรียนบ้านห้วยเหลือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 โดยใช้รูปแบบ CIPP Model เป็นแนวประเมินในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 32 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการประเมินบริบทของโครงการ ในด้านความสอดคล้องกับนโยบายของต้นสังกัด ด้านความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน และด้านการยอมรับของผู้ปฏิบัติงาน ในภาพรวมและรายด้านพบว่า บริบทของโครงการมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ในด้านความเหมาะสมของงบประมาณ ด้านคุณภาพของวิทยากร ด้านโครงสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมและแผนการฝึกอบรม และด้านความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ในการจัดฝึกอบรม ในภาพรวมปัจจัยนำเข้าของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ปัจจัยนำเข้าของโครงการด้านคุณภาพของวิทยากร และด้านโครงสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมและแผนการฝึกอบรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจ ส่วนด้านความเหมาะสมของงบประมาณและด้านความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ในการจัดฝึกอบรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง ไม่ผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจ
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ ในด้านการเตรียมการ ด้านการดำเนินงานตามแผน ด้านกระบวนการฝึกอบรมให้ความรู้ และด้านการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ในภาพรวมและรายด้านพบว่า กระบวนการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ ในด้านพฤติกรรมการนำไปใช้ ด้านผลกระทบ และด้านความพึงพอใจ ในภาพรวมและรายด้านพบว่าผลผลิตของโครงการมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ที่น่าพอใจ
am_4640003911 14 เม.ย. 2564 เวลา 10:38 น. 0 372
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^