LASTEST NEWS

08 พ.ค. 2567สพป.ตราด ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 45 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 35 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.ตรัง เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 23 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 23 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567สพป.เชียงราย เขต 4 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 10 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ)

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 2 (ค 12101)_ครูฮะ

usericon

ชื่อวิจัย:    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 2 (ค 12101) โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
        เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย:    นางซามีฮะห์ บุญมาศ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
        โรงเรียนบ้านตะบิงตีงี สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
        องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
ปีที่วิจัย:    2562-2563

บทคัดย่อ

    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ 2 (ค 12101) โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5L Model) วิชาคณิตศาสตร์ 2 (ค 12101) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5L Model) วิชาคณิตศาสตร์ 2 (ค 12101) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5L Model) วิชาคณิตศาสตร์ 2 (ค 12101) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ
    กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนโรงเรียนบ้านตะบิงตีงี สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 19 คน ใช้กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบวิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับนโยบาย จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาและสภาพปัจจุบัน ของผลการจัดการศึกษาตามนโยบายและจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา 2) แบบวิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5L Model) วิชาคณิตศาสตร์ 2 (ค 12101) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ 3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5L Model) วิชาคณิตศาสตร์ 2 (ค 12101) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการจัดกาเรียนรู้ จำนวน 4 ชนิด ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน 2) แบบฝึกเสริมทักษะ จำนวน 7 เล่ม 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ 4) แบบประเมินวัดความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x-bar) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
    ผลการวิจัยและพัฒนา พบว่า
        จากการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบาย เป้าหมาย ของการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา พบว่ามีสภาพที่คาดหวังคือมุ่งปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลางจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความแตกต่างของผู้เรียน โดยผู้ศึกษายึดหลักการตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของ Dienes แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานตามแนวคิดของ Caine and Caine และ Jensen และแนวคิดเกี่ยวกับวิธีสอนสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ตามแนวคิดของ McCarthy มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
        1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5L Model) วิชาคณิตศาสตร์ 2 (ค 12101) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ (5L Model) ที่พัฒนาขึ้นมีขั้นตอนการสอน 5 ขั้น คือ 1) ขั้นคลายสมอง (Loosen the brain) 2) ขั้นเชื่อมโยงประสบการณ์ (Linking experience) 3) ขั้นเรียนรู้เนื้อหา (Learning the contents) 4) ขั้นนำพาปฏิบัติ (Lead practice) และ 5) ขั้นความรู้คงอยู่ (Lifelong knowledge) โดยรูปแบบการสอนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.40/82.00 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
        2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่าหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5L Model) วิชาคณิตศาสตร์ 2 (ค 12101) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 2 ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ สูงกว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้นเท่ากับ 49.03
        3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัด การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5L Model) วิชาคณิตศาสตร์ 2 (ค 12101) เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ และหารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ (5L Model) อยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^