LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.ปทุมธานี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ปทุมธานี 26 เม.ย. 2567สพม.นครปฐม ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครปฐม 26 เม.ย. 2567สพป.นราธิวาส เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 2 26 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 3 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3 26 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยโสธร เขต 2

การพัฒนารูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
     เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
     ปีที่ 4
ผู้วิจัย นางสาวนภาทิพย์ สิทธิชัย
ตำแหน่ง     ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา     โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว สำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต
ปีที่วิจัย     2562

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนารูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในด้านผลสัมฤทธิ์ของมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 4) ประเมินผลรูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในด้านความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 โรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 51 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความต้องการพื้นฐานเพื่อการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ว14101 2) แบบสัมภาษณ์ครูเพื่อรวบรวมแนวคิดในการจัดกิจกรรมรูปแบบการสอน 3) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ 4) แบบวัดผลสัมฤทธิ์เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ 5) แบบสัมภาษณ์ 6) แบบประเมินการคิดและการแก้ปัญหาตามสภาพจริง 7) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) แบบ Dependent Samples และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมแล้ว นักเรียนมีความต้องการพัฒนาทักษะ การคิดแก้ปัญหา ได้แก่เนื้อหาในหนังสือวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ว14101 และเนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักสูตรโรงเรียนเทศบาลบ้านบางเหนียว ระดับประถมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2560 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้แก่ 1) การสำรวจข้อมูล 2) การรู้จักซอฟต์แวร์ตารางทำงาน 3) การสร้างตารางทางเลือกและการตัดสินใจเกี่ยวกับการซื้อสินค้า 4) การสร้างทางเลือกและตัดสินใจเกี่ยวกับเส้นทางและสถานที่เที่ยว 5) แผนภูมิรูปภาพ 6) แผนภูมิวงกลมและแผนภูมิแท่ง จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) สรุปข้อมูลสอดคล้องกันว่า นักเรียนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการเรียนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาตอนต้น ทำให้ขาดความกระตือรือร้นในการเรียนจนไม่สามารถพัฒนามโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ได้ การจัดการสอนด้วยรูปแบบการสอน ALICE Model นี้ ช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถพัฒนามโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น
    2. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีชื่อเรียกว่า รูปแบบการสอน ALICE Model มีองค์ประกอบดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการจัดกิจกรรม และสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุน มีขั้นตอนการสอน 5 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นเร้าความสนใจ (Activating) 2) ขั้นเรียนรู้ (Learning) 3) ขั้นตรวจสอบข้อเท็จจริง (Investigating) 4) ขั้นสรุปและเสนอผลงาน (Concluding) 5) ขั้นประเมินผล (Evaluating) ซึ่งรูปแบบการสอนนี้ได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ให้ความเห็นว่าอยู่ในระดับดี แสดงว่ารูปแบบการสอนมีความสอดคล้องกับหลักการของรูปแบบการสอน และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีคุณภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด และนำรูปแบบการสอนไปใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4/4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.89/83.33
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน ALICE Model ที่พัฒนาขึ้น สามารถสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความสนใจกระตือรือร้นในการเรียนรู้ร่วมกันทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม อย่างตั้งใจ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมเป็นอย่างดี พบว่า ผลการเรียนรู้ความสามารถด้านมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
    4. ผลการประเมินรูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อสร้างเสริมมโนทัศน์และการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่าความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.46 , S.D. = 0.61)
napatiptip 24 ก.พ. 2564 เวลา 16:22 น. 0 753
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^