LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

การพัฒนาพหุปัญญาโดยการใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเร

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนาพหุปัญญาโดยการใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน  ว่าที่ร้อยตรีหญิงปัทมพร สุนทร
โรงเรียน    โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
ปีที่ศึกษา    2564
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการพัฒนาพหุปัญญาโดยการใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อทดลองใช้กระบวนการการพัฒนาพหุปัญญาโดยการใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (Experimental Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 30 คน เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านสัปดาห์ละ 5 ครั้ง ครั้งละประมาณ 50 นาที จำนวน 20 ครั้ง ซึ่งผู้วิจัยทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมและเป็นผู้สังเกตพฤติกรรมโดยใช้กระบวนการการพัฒนาพหุปัญญาของผู้เรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) ชุดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 จำนวน 20 ชุด ได้แก่ กิจกรรมการละเล่นมอญซ่อนผ้า รีรีข้าวสาร หมากเก็บ ตีไก่ กลิ้งครกขึ้นภูเขา กาฟักไข่ คลี รถม้าชาวเสียม ข้ามห้วย ลู่ไข่เต่า งูกินหาง ไก่ตบ ลิงชิงหลัก นางไก่ โพงพาง ขี่ม้าหาเจ้าเมือง แข่งเกวียน ดึงหนัง วิ่งเxxxยว และกิจกรรมการละเล่นขี้ม้าส่งเมือง
(2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินความสามารถทางพหุปัญญา ประกอบด้วย แบบทดสอบความสามารถทางพหุปัญญาทั้ง 4 ด้าน และแบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถทางพหุปัญญาทั้ง 4 ด้าน คือ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ (Percentage) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความสามารถในการพัฒนาพหุปัญญาโดยการใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้งก่อนและหลังการทดลองของผู้เรียนโดยใช้ t-test แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาพหุปัญญาโดยการใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับดี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีการพัฒนาพหุปัญญาโดยการใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ก่อนทดลองและหลังทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^