LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567‘สิริพงศ์’ แจงชัดประกาศยกเว้น/ผ่อนผันแต่งเครื่องแบบนักเรียน เพื่อลดความเดือดร้อนผู้ปกครอง ไม่ได้สั่งยกเลิกชุดนักเรียน 18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้

การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพ

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี
ผู้วิจัย        นายโมกขสิทธิ์ ดวงกลาง
สถานศึกษา        สำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี
ปีที่พิมพ์        2564

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี 2.เพื่อสร้างการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี 3.เพื่อทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี 4.เพื่อประเมินผลการใช้และปรับปรุงการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี โดยใช้ครูทั้งหมดในการทดลองใช้รูปแบบฯ ได้แก่ ครูจำนวน 62 คน แยกเป็น ครูผู้นิเทศจำนวน 12 คน ครูผู้รับการนิเทศจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบประเมิน แบบสังเกตและประเด็นสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (m)ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

    ผลการวิจัยพบว่า

    1.ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานของการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ที่ผ่านมาพบปัญหาคล้ายคลึงกับที่ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือ ครูขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดทักษะในการทำวิจัยในชั้นเรียน ไม่สามารถวิเคราะห์ปัญหาและนำปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนมาแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ และไม่สามารถนำสิ่งที่ปฏิบัติจริงมาเขียนเป็นรายงานการวิจัยได้ สอบถามระดับปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และระดับความต้องการการทำวิจัยในชั้นเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
    2.รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ที่สร้างขึ้น ชื่อว่า “CIPDER Model”โดยมีองค์ประกอบที่ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ และเงื่อนไขการนำรูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการไปใช้ โดยมีกระบวนการในการนิเทศ 6 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การคัดกรองระดับความรู้และทักษะความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้และการทำวิจัยในชั้นเรียน ขั้นตอนที่ 2 การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการนิเทศ ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินการนิเทศ ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ ขั้นตอนที่ 6 การสะท้อนผลการนิเทศ รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการโดยผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถนภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี พบว่า 1.ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการของครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศหลังการนิเทศสูงกว่าก่อนการนิเทศ 2. ความสามารถในการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการของครูผู้นิเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศ หลังการนิเทศสูงกว่าก่อนการนิเทศ 4.ทักษะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้รับการนิเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 5.จิตวิจัยของครูผู้รับการนิเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 6.งานวิจัยในชั้นเรียนที่ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และ 7.ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานีโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
     4. ผลการประเมินการพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ตามความคิดเห็นของครูผู้นิเทศและครูผู้รับการนิเทศพบว่าโดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และจากการสนทนากลุ่มร่วมกันของครูผู้นิเทศ และครูผู้รับการนิเทศ หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองใช้รูปแบบผู้ร่วมสนทนากลุ่มให้ความคิดเห็นว่า องค์ประกอบของรูปแบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม และสอดคล้องซึ่งกันและกัน เป็นกระบวนการที่มีประโยชน์มาก เป็นกระบวนการที่มีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กันของแต่ละขั้นตอน ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งด้านการพัฒนางาน และองค์ความรู้ ส่วนองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ เป็นองค์ประกอบที่มีความจำเป็นในการพัฒนาครูด้านการทำวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งครูจะต้องทำด้วยความเต็มใจ เต็มกำลังเต็มความสามารถ ร่วมมือกัน มีความรับผิดชอบและมีมนุษยสัมพันธ์ เป็นกัลยาณมิตรที่ดีต่อกันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก นอกจากนี้ผู้บริหารต้องตระหนักถึงความสำคัญของการนิเทศ ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกและการสร้างขวัญกำลังใจให้กับครู
mokasitd1964 21 ก.พ. 2564 เวลา 21:52 น. 0 383
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^